อิกัวนา (อังกฤษและสเปน: iguana ) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าในสกุล Iguana ในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) และในวงศ์ย่อย Iguaninae พ...
อิกัวนา (อังกฤษและสเปน: iguana) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าในสกุล Iguana ในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) และในวงศ์ย่อย Iguaninae
พบกระจายพันธุ์ในบริเวณบ้านธรรมสร, อเมริกากลาง รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในภูมิภาคแคริบเบียนและพอลินีเซีย
กิ้งก่าสกุลนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในเชิงวิทยาศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1768 โดยโยเซฟุส นิโคเลาส์ เลาเรนที นักธรรมชาติวิทยาชาวออสเตรียในหนังสือของตนเองที่ชื่อว่า Specimen medicum, Exhibens synopsin Reptilium Emendatam cum Experimentis circia venena
มีความยาวมากกว่า 20 เซนติเมตร โดยมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับตะกอง (Physignathus cocincinus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Agamidae ที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย แต่มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน คือ เป็นกิ้งก่าที่กินพืชเป็นอาหาร และส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินบนต้นไม้ ไม่ค่อยลงมาบนพื้นดิน
แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- อิกัวนาเลสเซอร์แอนทิลลีส, I. delicatissima
- อิกัวนาเขียว, I. iguana
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด I. iguana พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักกันมากกว่า นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางประเทศ และนิยมรับประทานเนื้อกันเป็นอาหารพื้นเมืองของภูมิภาคบ้านปลื้ม
คำว่า “อิกัวนา” เป็นศัพท์ที่แปลงมาจากภาษาของชาวไทยซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของแถบกรุงเทพมาจากคำว่า Iwana
อีกัวน่าเขียว
อีกัวน่าเขียว(Green Iguana)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Iguana iguana
ลักษณะทั่วไป
เป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ สีเขียว หัวโตมีหนามแหลมคล้ายหวีอยู่แนวกลางของลำตัว ซึ่งหนามนี้จะเห็นได้ชัดที่สุด ตั้งแต่ตรงคอไปถึงหาง บริเวณลำคอมีปุ่มกลมขนาดใหญ่ ใต้คอมีเหนียงขรุขระขนาดใหญ่ ตัวผู้ตัวโต มีหัวโตและมีแผงหนามชัดเจนกว่าตัวเมีย
อาหารอีกัวน่า
| |
ความหลากหลายและสมดุลคือหัวใจ ควรใช้ผักสีเขียวเข้มที่อุดมด้วยแคลเซี่ยม เป็นอาหารอิกัวน่าประมาณ 40% ของอาหารในแต่ละวัน หญ้าแอลฟัลฟา (หญ้าแห้ง ใบ ดอก) บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี ถั่วเขียว ผักขม และผักกาดเขียวเป็นทางเลือกที่ดี 50 เปอร์เซ็นต์ของอาหาร ควรทำจากผักหรือพืชอื่น ได้แก่ แฟงหรือฟักทองขูดฝอย ซูกินี่ พริกหยวก หน่อไม้ แครอทหั่นฝอย ผักผสมบรรจุกระป๋องหรือแช่แข็ง ถั่ว อีก 10 เปอร์เซ็นต์ของอาหารคือ อาหารอิกัวน่าหรือผลไม้สด รวมทั้ง มันฝรั่ง กล้วย องุ่น มะละกอ อิกัวน่าสามารถกินดอกกุหลาบที่สะอาด กลีบดอกชบา บางคราวคุณอาจให้มันกินขนมปัง ธัญพืชพวกรำข้าวไม่มีน้ำตาล อาหารสุนัข (ที่มีใยอาหารสูงและแคลอรี่ต่ำ) ที่สามารถเปื่อยยุ่ยได้ในน้ำ ไข่ต้มบดหรือเต้าหู้อิกัวน่าที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตจะต้องการโปรตีนมากกว่าอิกัวน่าที่โตแล้ว อาหารควรเป็นผักสีเขียวเข้ม 40% และผักอื่นๆอีก 40% ที่เหลือควรเป็นขนมปัง รำข้าวไร้น้ำตาล อาหารอิกัวน่า หรือเต้าหู้ วิตามินและแร่ธาตุเสริมสำหรับอิกัวน่ามีขายตามท้องตลาด คุณอาจใส่เพิ่มลงไปในอาหาร ได้ตามคำแนะนำบนฉลากที่แนบมา แต่ถ้าคุณให้อิกัวน่ากินอาหารที่ดีและหลากหลายแล้ว อาหารเสริมก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าคุณยังกังวลเกี่ยวกับอาหารที่อิกัวน่ากิน จะให้อาหารเสริมก็ได้ ถ้าคุณทำตามคำแนะนำที่แนบมากับอาหารเสริมสำหรับอิกัวน่าแล้วล่ะก็ มันก็จะไม่มีอันตราย ต่ออิกัวน่าของคุณ แต่อย่าใช้อาหารเสริมสำหรับสัตว์เลื้อยคลายประเภทอื่น(โดยเฉพาะสัตว์กินเนื้อ) หรือสายพันธุ์อื่น เพราะมันจะเป็นอันตรายมากกว่าผลดี ผักสีเขียวไม่ได้มีคุณค่าเท่ากัน อิกัวน่าของคุณต้องการบร็อคโคลี่ ผักขม และผักสีเขียวเข้มอื่นๆ แต่ไม่ควรเกิน 40% ของอาหารทั้งหมด การกินผักสีเขียวมากเกินไปจะทำลายการดูดซึมแคลเซี่ยม และการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงที่น่ารักของคุณ แต่อย่าเอาผักเหล่านี้ออกจากรายการอาหารประจำวันของอิกัวน่าซะล่ะ เพราะนี่คือสารอาหาร แค่เอาผักพวกนี้ไปผสมกับผักสีเขียวอื่นๆ ก็เพียงพอ
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอยู่ในป่าร้อนชื้น ชอบไต่ไปตามกิ่งไม้หรือขอนไม้ บางครั้งไต่ได้อย่างรวดเร็วไปตามพุ่มไม้และอาจลงน้ำได้เป็นบางครั้ง เมื่อยังเล็กจะกินเฉพาะแมลง แต่พอโตเต็มวัยแล้วจะกินพืชเป็นหลัก กรีนอีกัวน่าวางไข่ครั้งละ 20-40 ฟอง ต่อ ครั้ง ระยะฟักไข่นาน 10-15 สัปดาห์
ปัญหาเรื่องอากาศเย็น
แก้ไขได้ ใช้หลอดไฟทังสเตนส่อง สร้างความอบอุ่นเวลาลอกคราบ อีกัวน่าจะเปลี่ยนสีดูหม่นลง มีปื้นสีเทาหรือขาวขึ้นทั่วลำตัว เริ่มลอกคราบจากส่วนหัว ลำตัว ขาและหาง และส่วนย่อยที่เปลือกตา หู แผงหลังช่วงลอกคราบอากาศต้องชื้น ความชื้นตามธรรมชาติช่วยสร้างน้ำมันระหว่างชั้นผิวหนัง ช่วยให้ ผิวหนังเก่าอ่อนตัว ลอกง่าย ถ้าเลี้ยงบริเวณอากาศแห้งจะทำให้ลอกคราบยาก กว่าจะหมดทั้งตัวใช้ เวลานาน ผู้เลี้ยงช่วยลอกคราบได้ ดึงผิวออกเบาๆ ถ้าลอกคราบไม่หมดจะเกิดปัญหา คราบจะรัดแน่นทำให้เนื้อเยื่อ ส่วนนั้นตาย เพราะขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทอายุ 3 ปี อีกัวน่าเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ อีกัวน่าหนุ่มสาวจะผสมพันธุ์ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ตัวเมีย.จะขุดดินวางไข่ในดินครั้งละ 20-30 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 1 เดือน ลูกอีกัวน่าตัวน้อย จะทยอยออกมาลืมตาดูโลกแม้จะเป็นสัตว์อายุยืน แต่ก็มีโรคภัย มักจะเป็นโรคเกิดจากผู้เลี้ยง เช่น ให้วิตามินดีสูงเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะไม่สมดุล ระหว่างแคลเซียมกับฟอสฟอรัสวิตามินดีจะดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร ทำให้ปริมาณแคลเซียมสูงเกินไป สะสมที่ผิวหนังและ หลอดเลือดจนร่างกายอ่อนแอ อาจตายได้ในทางกลับกัน ถ้าปริมาณแคลเซียมและวิตามินอีในอาหารต่ำเกินไป แคลเซียมของกระดูกจะปรับสมดุล ทำให้กระดูกเปราะบาง ทำให้กระดูกหัก เดินไม่ได้ |
———————————–
Data from: wikipedia
Data from: wikipedia