เลี้ยงปลานิล-ปลาทับทิม ให้สวย ทรงดี เป็นที่ต้องการของตลาด มีวิธีเลี้ยง ดังนี้

จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ราบและเทือกเขา มีภูเขาที่ทอดตัวตั้งขนานกับเส้นพรมแดนประเทศพม่า มีความยาว 460 กิโลเมตร เมื่อเอ่ยถึง จังหวั...

จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ราบและเทือกเขา มีภูเขาที่ทอดตัวตั้งขนานกับเส้นพรมแดนประเทศพม่า มีความยาว 460 กิโลเมตร
เมื่อเอ่ยถึง จังหวัดกาญจนบุรี สิ่งที่ทุกคนนึกถึงคงจะหนีไม่พ้น การท่องเที่ยวพักผ่อนแบบสบายๆ ท่ามกลางธรรมชาติในบริเวณภูเขาใหญ่น้อยทั้งหลาย เพราะภูมิทัศน์ยังมีความหลากหลาย
จังหวัดกาญจนบุรี นับว่ายังมีแหล่งป่าไม้ที่เป็นทรัพยากรสำคัญ ที่เป็นแหล่งเกิดธารน้ำ และห้วยเล็กๆ ไหลมาบรรจบเป็นแม่น้ำ 3 สายที่สำคัญ คือ แม่น้ำศรีสวัสดิ์หรือแควใหญ่ แม่น้ำไทรน้อยหรือแควน้อย และแม่น้ำแม่กลอง
กำนันเทียมศักดิ์ สง่ากชกร อยู่บ้านเลขที่ 5/9 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำแม่กลองทำการเลี้ยงปลากระชัง เพราะบริเวณแห่งนี้ยังมีน้ำที่สะอาดเหมาะสมกับการประกอบอาชีพด้านการประมง
ประสบความสำเร็จจากเลี้ยงโคนม
จึงมาทดลองเลี้ยงปลากระชังสร้างรายได้
กำนันเทียมศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะริเริ่มมาเลี้ยงปลากระชังนั้น ได้ทำการเกษตรด้านปศุสัตว์มาก่อน จากนั้นประมาณปี 2540 จึงมาเลี้ยงปลาในกระชัง
“เริ่มแรกเดิมทีผมเลี้ยงโคนม พอลูกชายผมเรียนจบมา ก็เลยให้เขาทำโคนมไป ผมก็มาทดลองเลี้ยงปลา สมัยนั้น ปี 40 ยังไม่มีคนรู้จักปลาทับทิมหรือปลานิลในกระชัง ผมก็ไปศึกษากับเกษตรกรที่เลี้ยงอยู่แล้วในพื้นที่อื่นๆ เพื่อมาทดลองเลี้ยงดู ช่วงนั้นก็หาตลาดเอง มันก็เหมือนเราต้องศึกษาอะไรอีกเยอะ เรียกว่าเริ่มแรกนี่เป็นบทเรียนราคาแพงกว่าจะประสบผลสำเร็จ แต่ผมคิดว่าถ้าเราจะทำเป็นอาชีพ ก็ต้องทำให้ได้ หาประสบการณ์ด้วยตัวเราเอง” กำนันเทียมศักดิ์ กล่าว
กำนันเทียมศักดิ์ บอกว่า ในตอนนั้นทดลองเลี้ยง ประมาณ 40 กระชัง เมื่อประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจจึงขยายการเลี้ยงออกไปเรื่อยๆ จึงได้พบปะกับกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชังมากขึ้น ทำให้ได้รับแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
วิธีจับปลานิล
การเลี้ยงปลา น้ำที่ใช้เลี้ยงนับว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากน้ำดีการเลี้ยงก็จะไม่เกิดปัญหามากนัก
“น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาที่นี่ จากสมัยก่อนมา ณ ตอนนี้นะ เรียกง่ายๆ ว่ายังสะอาดที่สุดในประเทศไทย น้ำก็ยังมีเยอะ แต่อนาคตก็ต้องดูต่อไป เพราะตอนนี้เริ่มจะไม่ค่อยมีกฎระเบียบกันมากนัก ซึ่งที่ผ่านมาผมก็ได้เข้าประชุมกับท่านผู้ว่าฯ จังหวัด และก็เกษตรกรอื่นๆ กับหน่วยราชการ ให้รวมกลุ่มกันเอากฎหมายมาบังคับใช้ จัดการกับคนที่ทำผิด ไม่อย่างนั้นน้ำมันก็จะเน่าเสีย อย่างน้อยเพื่อรักษาสภาพน้ำของที่นี่ให้สะอาดต่อไป” กำนันเทียมศักดิ์ กล่าวถึงการช่วยกันดูแลรักษาแหล่งน้ำ
ปลาสวย ทรงดี
เป็นที่ต้องการของตลาด
มีวิธีเลี้ยง ดังนี้
กำนันเทียมศักดิ์ บอกว่า ตอนแรกที่เลี้ยงใหม่ๆ นำลูกปลาทับทิมและปลานิลมาปล่อยลงเลี้ยงในกระชังทันที แต่ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนนำมาอนุบาลในบ่อดินเสียก่อนแล้วค่อยนำมาเลี้ยงในกระชัง
“ตอนแรกที่เลี้ยงใหม่ๆ เอาลูกปลาไซซ์ใบมะขามมาปล่อยในกระชัง ขนาด 3×3 เมตร ลึก 2เมตร คราวนี้เห็นปัญหาว่าเราควบคุมระดับน้ำไม่ได้ โดยเฉพาะหน้าฝน น้ำขุ่นลูกปลาจะตาย ก็เลยเอามาอนุบาลในบ่อดินก่อน ปล่อยลูกปลาประมาณหกหมื่นถึงหนึ่งแสนตัวลงในบ่อดินขนาดครึ่งไร่ อาหารที่ให้ช่วงนั้นมีเปอร์เซ็นต์โปรตีน ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ให้ 4 เวลา เช้า สาย บ่าย เย็น เวลาเลี้ยงในช่วงนี้ 70 วัน ลูกปลาจะมีขนาด ประมาณ 40-50 กรัม ก็จะนำมาปล่อยเลี้ยงในกระชังต่อ” กำนันเทียมศักดิ์ อธิบาย
ลูกปลานิลและปลาทับทิมที่นำมาปล่อยลงในกระชัง กำนันเทียมศักดิ์ บอกว่า มาปล่อยเลี้ยงในกระชัง ขนาด 3×6 เมตร ปล่อยลูกปลา ประมาณ 1,600 ตัว ต่อกระชัง อาหารให้ 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน และเย็น อาหารในระยะนี้มีโปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ เมื่อลูกปลามีขนาด ประมาณ 100 กรัมขึ้นไป จะเปลี่ยนสูตรอาหารที่มีโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ให้แบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าปลานิลและปลาทับทิมจะได้ขนาดที่จำหน่ายได้ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนครึ่ง
การดูแลรักษาโรค กำนันเทียมศักดิ์ บอกว่า ณ ปัจจุบันนี้ เมื่อเทียบกับสมัยก่อนมีโรคเยอะกว่ามาก เวลาเลี้ยงจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยจะติดเครื่องตีน้ำเข้ามาช่วย และมีการทำโปรแกรมการให้วิตามินอยู่เสมอ เพื่อให้ปลามีความแข็งแรง ช่วยลดปัญหาเรื่องโรค ซึ่งการระบาดของโรคมีตลอดทั้งปี จึงจำเป็นต้องป้องกันตลอดเวลา
“สมัยก่อนที่ผมเลี้ยงใหม่ๆ นั้นดี ไม่มีโรค อัตรารอด 90 เปอร์เซ็นต์ เดี๋ยวนี้อัตรารอดไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เช่น ลงเลี้ยง 100 ตัว เหลือ 30-40 ตัวเอง เพราะปีหนึ่งเราเลี้ยงได้ 2 ครั้ง การจัดการเดี๋ยวนี้ก็สิ้นเปลืองขึ้นมาก อย่างเครื่องตีน้ำ ใช้พลังงานไฟฟ้าเราก็จะเปลืองเรื่องค่าไฟมากขึ้น ซึ่งสมัยก่อนไม่ต้องมีเครื่องพวกนี้เลย หากเราไม่ทำ ประหยัดมากเกินไป ปลาไม่แข็งแรงเกิดโรคขึ้นมาก็ไม่ไหว การทำแบบนี้ก็จะช่วยให้เราได้ปลาที่ดี มีความแข็งแรง” กำนันเทียมศักดิ์ กล่าว
คิดค้นถังให้อาหาร
กำนันเทียมศักดิ์ บอกว่า ได้คิดค้นถังการให้อาหารปลาขึ้นมา เพื่อที่เวลาปลากินอาหารจะทำให้มีขนาดที่เท่ากันไม่แตกไซซ์มากเกินไป
“ถังที่เห็นบนกระชังสีเหลืองสีขาว ผมดัดแปลงเอามาใช้ เพราะว่าพอเราใส่อาหารลงไป เดี๋ยวอาหารมันจะลงไปแบบเหมาะสม ทำให้เราลดเรื่องแรงงานไปได้มาก แล้วปลามันจะโตค่อนข้างเสมอกัน แต่ก่อนที่เราจะใช้ถังอาหารนี้ได้ เราต้องมีบันทึกการให้อาหารอยู่ก่อน ว่าปลาไซซ์ขนาดนี้ควรจะกินอาหารกี่กิโลกรัม เราจะได้รู้เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว หากเราไม่มีการจดบันทึกไว้ อยู่ดีๆ เอาถังไปใส่อาหารให้ไม่ได้ มันจะยิ่งเปลืองมากขึ้น” กำนันเทียมศักดิ์ กล่าว
ขนาดของปลาที่ตลาดต้องการ
มีความแตกต่างกัน
กำนันเทียมศักดิ์ บอกว่า ความต้องการขนาดของปลาที่มีคนมาซื้อ นับว่าแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่ที่ว่าจะนำไปประกอบอาหารในรูปแบบใด
“จำหน่ายนี่ความต้องการของตลาดหลากหลายมาก ถ้าขึ้นโต๊ะจีนกับร้านปลาเผาก็จะใช้ปลาไซซ์ใหญ่ ถ้าเป็นชาวบ้านทั่วไปก็จะซื้อขนาดประมาณ 600-700 กรัม ซึ่งส่งจำหน่ายก็มีทั้งที่ตลาดไท ตลาดทั่วๆ ไป และก็จะมีแม่ค้ามารับซื้อถึงที่ฟาร์มเป็นเจ้าประจำ ซื้อกันมามากกว่า 10 ปี” กำนันเทียมศักดิ์ กล่าว
ปลาทับทิม จำหน่ายอยู่ที่ราคา 72 บาท ส่วนปลานิลอยู่ที่ราคา 62 บาท ซึ่งราคาขึ้นลงตามกลไกของตลาด กำนันเทียมศักดิ์ บอกว่า ราคาของปลาที่จำหน่ายในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับสมัยก่อนนั้นราคาถือว่าต่ำกว่ามาก
“ราคาปลาเคยลงไปถึง 50 กว่าบาท เพราะว่าเดี๋ยวนี้คนเลี้ยงกันเยอะขึ้น ซึ่งตอนนี้เองราคาก็ยังไม่ดี กลัวว่าจะร่วง กำลังซื้อคนก็ไม่ค่อยมี แต่เทียบดูตอนนี้คนกินเยอะขึ้น สมัยก่อนที่ผมเริ่มใหม่ๆ ตลาดหายากอยู่ บางคนเขาก็ไม่รู้จักปลาทับทิม พอเขาได้มาลองกินก็ชอบ อีกอย่างปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติก็หายากขึ้น ปลาทับทิม ปลานิล เลยเป็นทางเลือกได้ดี ราคาเหมาะสม เรียกว่าหาซื้อกินได้ง่ายมีทั่วไปทุกจังหวัด” กำนันเทียมศักดิ์ กล่าว
มุมมองการเลี้ยงสัตว์
ของ กำนันเทียมศักดิ์
“อยากจะบอกว่า อาชีพการเลี้ยงสัตว์ที่ผมผ่านมาทุกอย่าง อย่างที่ผมเลี้ยงโคนมนี่ก็ถือว่าเป็นอาชีพที่ดีสำหรับครอบครัว ส่วนการเลี้ยงปลานี่ก็เป็นอาชีพที่ดีมาก เรามองดูสัตว์นะตอนนี้ อย่างสัตว์บก กับสัตว์น้ำ อย่าง ปลานิล ปลาทับทิม ในแง่ของการแลกเนื้อ เราให้อาหารประมาณ 1.5 กิโลกรัม เราก็จะได้เนื้อปลากลับมา 1 กิโลกรัม คือไม่มีสัตว์อะไรที่จะแลกเนื้อได้ดีกว่านี้ อีกอย่างการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพที่เหมาะสำหรับครอบครัว”
“สำหรับคนที่สนใจอยากเลี้ยงเป็นอาชีพ ก็จะแนะนำว่าอย่าทำใหญ่เกินในช่วงแรกๆ มันก็จะมีปัญหาเรื่องตลาด อีกอย่างเรื่องเงินทุนมันก็จะต้องใช้เงินสดด้วย เพราะบางทีเราไปซื้ออาหารที่มาเลี้ยงมันไม่มีเครดิตอะไรช่วยได้ หลักที่สำคัญคือ เกี่ยวกับด้านวิชาการ ต้องศึกษาให้ท่องแท้ โดยเตรียมตัวให้ดี ศึกษาให้พร้อม เราจะได้แก้ปัญหาต่างๆ ได้ ปัญหาเรื่องโรคก็สำคัญ สายพันธุ์ปลา อาหารที่ให้ปลา และก็เรื่องการตลาด 4 อย่างนี้ ถือว่าสำคัญมาก สำหรับคนที่จะเริ่มเลี้ยง” กำนันเทียมศักดิ์ กล่าวแนะนำ

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากเลี้ยงปลานิล ปลาทับทิม ในกระชัง กำนันเทียมศักดิ์ สง่ากชกร บอกว่า ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมทั้งให้คำแนะนำการเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ ติดต่อสอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ (081) 944-3454—————————————–
Data from: technologychaoban
ชื่อ

1-2 เดือน,1,1-2 ปี,1,1-2 สัปดาห์,1,2000 ปี,1,5แสน-ไม่เกิน1ล้าน,20,กบ,1,กระท่อม,9,กว่าง,1,กะทิ,1,กะปอม,1,กะหล่ำดาว,1,การตอนกิ่งด้วยน้ำ,1,การประมง,3,การปลูกผักพืชสวนครัว,1,การปลูกผักไร้ดิน,1,การปลูกมะละกอ,1,การเลี้ยง,3,การเลี้ยงกุ้งเครฟิช,1,การเลี้ยงปลา,1,การเลี้ยงปลาเงิน,1,การเลี้ยงปลาดุก,1,กำจัดหญ้า,1,กิ้งก่า,1,กุ้ง,1,กุ้งเครฟิช,1,กุดจี่เบ้า,1,เกษตร,113,เกษตรกร,5,เกษตรกรคนรุ่นใหม่,2,เกษตรพอเพียง,21,แก้กระดูกเสื่อม,1,แก้โรคมะเร็ง,1,แก้วกาญจนา,1,แก้วมังกร,1,ไก่,4,ไก่ไข่,1,ไก่ตีนโต,4,ไก่พื้นเมือง,1,ไก่อารมณ์ดี,1,ข้าว,1,ข้าวเหนียวมะม่วง,1,ขิงประดับ,1,เขียวหมื่นปี,1,ไข่,1,ไข่น้ำ,1,ไข่ผำ,1,ไข่แหน,1,ครัว,1,ครัวไทย,1,คลาสสิค,1,คลิป,1,ความรู้,33,คืนชีพยางรถยนต์,1,เครื่องดื่ม,1,แคนตาลูป,1,โคกหนองนา,4,โคกหนองนาโมเดล,4,งาดำ,1,งานไม้,1,จัดการแมลง,1,จัดสวน,11,จากหม่อมหลวง,1,จิ้งโกร่ง,1,จินซิง,1,จิโป่ม,1,ชมจันทร์,1,ชมสวน,1,ชะอม,1,ชัว,1,ชำกิ่งไผ่,1,เช็ก,1,เช็กแล้วแชร์,1,แชร์,27,ฌาบูชีกาบา,1,ด้วยวิธีธรรมชาติ,1,ดอกข่า,1,ด้านป่าไม้,1,ตกแต่งบ้าน,1,ต้นไทรใบสัก,1,ต้นแบบเรียนรู้,1,ต้นไผ่ยักษ์,1,ต้นไม้ 4,1,ต้นไม้จัดสวน,1,ต้นสำมะงา,1,ตอนกิ่ง,2,ตัดใบ,1,ต้านเบาหวาน,1,ต่ำกว่า5แสน,10,เต่า,1,เต่าอัลดาบร้า,1,ถอดบัญชีคุมสมุนไพรวัตถุอันตราย,1,ถังให้อาหาร,1,ถั่วฝักยาว,1,ทางรอดเกษตรกร,2,ทาวน์เฮาส์,1,ทำเงิน,1,ทุเรียน,2,เทคนิคการปลูกกะเพราไร้ดิน,1,แทนกล่องโฟม,1,แทนพลาสติก,1,ไทยประยุกต์,1,นกกระจอกเทศ,1,นกกระจิบ,1,นกหยิบ,1,นา,4,น้ำกระชาย,1,ในกระถาง,1,บ่อปลาคราฟ,2,บ่อเลี้ยงปลา,2,บัวแดง,1,บ้าน,148,บ้านกลางป่า,1,บ้านกลางเมือง,1,บ้านเก่า,1,บ้านต้นไม้,3,บ้านตากอากาศ,3,บ้านตู้คอนเทนเนอร์,2,บ้านไทยประยุกต์,1,บ้านพักตากอากาศ,1,บ้านมูจิ,1,บ้านไม้,18,บ้านไม้กลางทุ่ง,1,บ้านรถ,2,บ้านริมทะเล,2,บ้านลอยน้ำ,3,บ้านสวน,1,บ้านหิน,1,บ้านอิฐ,1,เบี้ยคนชรา,1,แบบบ้าน,124,แบบบ้านชั้นครึ่ง,8,แบบบ้านชั้นเดียว,97,แบบบ้านสองชั้น,49,แบบเล้าไก่ไม้ไผ่,1,ประดู่หางดำ,1,ประเทศลาว,1,ประโยชน์ของทุเรียน,1,ปลดหนี้หลักล้าน,1,ปลาช่อน,2,ปลาช่อนยักษ์อเมซอน,1,ปลาดุก,1,ปลาทอง,1,ปลาทับทิม,1,ปลานิล,1,ปลามังกร,1,ปลูก,6,ปลูกกะเพราไร้ดิน,1,ปลูกขิงแดง,1,ปลูกชะอมในเข่ง,1,ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง,1,ปลูกทุเรียนในกระถาง,1,ปลูกในห้องนอน,1,ปลูกผักในกระถาง,1,ปลูกผักบุ้งในโอ่ง,1,ปลูกผักสวนครัว,1,ปลูกพลู,1,ปลูกมันหวาน,1,ปศุสัตว์,5,ปั๊มน้ำ,1,ปั๊มน้ำสูญญากาศ,1,ป่าไม้,1,ปีนต้นไม้,1,ปู,1,ปูดำ,1,ปูนเปลือย,4,ปูหิน,1,เป็ด,1,เปลือกกล้วย,1,แปรรูปผล,1,โปร่งฟ้า,1,ผลไม้,7,ผัก,2,ผัก 11 ชนิดงอกใหม่ได้,1,ผักบุ้ง,1,ผักพื้นบ้าน,1,ผักสลัด,1,ผำ,1,ผึ้ง,1,พลังงานแสงอาทิตย์,1,พืชผัก,7,เพลิงหมาแหงน,3,แพะ,1,ฟักข้าว,1,ฟาร์มกี้,1,มะเขือเปราะ,1,มะเขือพวง,1,มะนาวลูกดก,1,มะพร้าว,2,มะพร้าวน้ำหอม,2,มะพร้าวน้ำหอมสีทอง,1,มะม่วง,2,มะม่วงกะล่อน,1,มะม่วงโบก,1,มะละกอ,1,มากกว่า1ล้าน-ไม่เกิน2ล้าน,15,มากกว่า2ล้าน-ไม่เกิน4ล้าน,10,มุมระเบียง,1,แมลงตัวห้ำ,1,โมร็อกโก,1,ไม้จัดสวน,1,ไม่ใช้น้ำมัน,1,ไม่ใช้ไฟฟ้า,1,ไม้ฟอกอากาศ,1,ยางนา,1,ยีราฟนอน,1,ระบบน้ำหยด,1,รีสอร์ท,1,ลดน้ำตาลในเลือด,1,ลอฟท์,1,ลาวใต้,1,ลูกเจี๊ยบ,1,ลูกสำรอง,1,เล็บครุฑลังกา,1,เลี้ยง,2,เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์,1,เลี้ยงกุ้งยักษ์ในบ่อซีเมนต์,1,เลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี,1,เลี้ยงจิ้งหรีด,2,เลี้ยงปลา,1,เลี้ยงปลาช่อน,1,เลี้ยงปลาดุก,1,เลี้ยงผึ้ง,1,เลี้ยงหนู,1,เลี้ยงหอย,1,เลี้ยงหอยทาก,1,วิถีชีวิต,1,วิธีการเพาะสะระแหน่ในตะกร้า,1,วิธีกำจัดตะขาบ,1,วิธีขยายพันธุ์,1,วิธีขยายพันธุ์ไม้,1,วิธีบังคับมะม่วง,1,วิธีลดน้ำหนัก,1,วีดีโอ,8,ไวน์ไผ่,1,ศัตรูพืช,1,ศูนย์,1,เศรษฐกิจพอเพียง,1,สตอเบอรี่,1,สไตล์ของยุโรป,2,สไตล์คลาสสิค,2,สไตล์คอนเทมโพรารี,1,สไตล์คันทรี,1,สไตล์ญี่ปุ่น,1,สไตล์ทรอปิคอล,1,สไตล์มินิมอล,1,สไตล์โมเดิร์น,61,สไตล์ลอฟท์,2,สไตล์วินเทจ,1,สไตล์สแกนดิเนเวียน,1,สมุนไพร,2,สวน,10,สวนกระถางแตก,1,สวนสวย,8,สะระแหน่,1,สัญจร,1,สัตว์,6,สัตว์เลื้อยคลาน,1,สับปะรด,1,สาระความรู้,29,สารเเหน่,1,สุขภาพ,5,สุดสายปลายน้ำโขง,1,สูตร,6,สูตรทุเรียนเทศ,1,สูตรอาหาร,1,หน่อไม้ฝรั่ง,1,หนุ่มวิศวะ,1,หนู,1,หมู่บ้านต้าหลิ่ว,1,หมูอินทรีย์,1,หลี่จับปลา,1,หลี่ผี,1,หอยเชอรี่,1,หายขาด,1,เห็ดโคนน้อย,1,เห็ดถอบ,1,เห็ดเผาะ,1,องุ่น,1,องุ่นต้น,1,องุ่นบราซิล,1,อนุรักษ์พลังงาน,1,อะราไพม่า,1,อัลดาบร้า,1,อาชีพ,13,อาหาร,3,อาหารพื้นบ้าน,1,อิกัวนา,1,อิกัวน่า,1,อิฐประสาน,1,อินดัสเทรียลลอฟท์,1,อิสระ,6,อีเอ็ม,1,อึ่ง,1,อึ่งเผ้า,1,แอปเปิ้ล,1,แอปเปิ้ลดำ,1,ไอเดีย,12,ไอเดียเกษตร,1,ไอเดียบ้าน,66,ไอเดียสวน,8,ฮอร์โมน,1,โฮมออฟฟิศ,1,เเกษตรผสมผสาน,1,agriculture,59,aldabra,1,Arapaima,1,arowana,1,asparagus,1,BAMBOO,1,Black Diamond,1,Black Diamond Apples,1,cantaloupe,2,career,11,coconut,1,COCOS NUCIFERA LINN,1,Contemporary,2,Contemporary style,1,DIY,1,Dong Tao,4,Đông Tảo,3,Dragon Chickens,4,Dragon fruit,1,dung beetle,1,em,1,farmky,14,farmland,105,fishery,3,food,4,Forestry,6,garden,10,home,133,home-idea,99,Home idea,17,House Types,3,Hydroponics,1,idea,6,iguana,1,jabuticaba,1,KhokNongNa,3,Khok Nong Na Model,3,King of Fuit,1,Knowledge,50,livestock,6,Malva nut,1,Menebang,1,Minimalist,1,Model,3,one-story-house,1,poohin,1,Raksasa,1,share,31,Single storey house,2,sufficiency agriculture,14,town house,1,Tree-Climbing,1,two-story-house,1,vdo,8,Vegetable,5,WINE,1,Yunakov,1,
ltr
item
ฟาร์มกี้.com: เลี้ยงปลานิล-ปลาทับทิม ให้สวย ทรงดี เป็นที่ต้องการของตลาด มีวิธีเลี้ยง ดังนี้
เลี้ยงปลานิล-ปลาทับทิม ให้สวย ทรงดี เป็นที่ต้องการของตลาด มีวิธีเลี้ยง ดังนี้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjnhVcUa8TT9UAoGsuHf34twvIRkANTHZU_KEDBFFdN1ultwUvsUhjBs_azUn1TGMUrkK8ujgsTHCfyaNI6b5Sjr3txrX3_JHsXNtbroVxGr17cQAI8z0CP3RRzv6TeUX4vvHg6OEb1ezE/s640/001-696x392%255B1%255D.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjnhVcUa8TT9UAoGsuHf34twvIRkANTHZU_KEDBFFdN1ultwUvsUhjBs_azUn1TGMUrkK8ujgsTHCfyaNI6b5Sjr3txrX3_JHsXNtbroVxGr17cQAI8z0CP3RRzv6TeUX4vvHg6OEb1ezE/s72-c/001-696x392%255B1%255D.jpg
ฟาร์มกี้.com
https://www.farmky.com/2020/04/blog-post_13.html
https://www.farmky.com/
https://www.farmky.com/
https://www.farmky.com/2020/04/blog-post_13.html
true
8771229479261943050
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy