การเลี้ยงปลามังกร ปลาอะโรวาน่า (arowana) นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะเป็นเพราะปลาชน...
ปลาอะโรวาน่า (arowana) นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะเป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามน่าเกรงขามมีเกล็ดขนาดใหญ่และมีสีสีนแวววามมีหนวดซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะคล้าย"มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปลาอะโรวาน่าโดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดจึงส่งผลให้ราคาปลาดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง
สำหรับปลาอะโรวาน่าเกือบทุกสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์จากทวีปเอเชีย จากการศึกษาตามประวัติของปลาชนิดนี้พอที่จะทราบได้ว่ามีการขุดค้นพบซากฟอลซิลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จึงทราบว่าปลาอะโรวาน่าจัดเป็นปลาโบราณอยู่ในตระกูล "Osteoglossidae"ซึ่งเป็นตระกูลของปลา ที่มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tougue ปลาชนิดนี้พบกระจายอยู่ใน 4 ทวีปทั่วโลก คือ ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอัฟริกา และทวีปออสเตรเลีย โดยปลาที่มาจากแต่ละทวีปจะมีรูปร่างลักษณะเด่นพิเศษที่แตกต่างกันตามไปด้วย โดยเฉพาะปลาที่มาจากทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีราคาแพงมากที่สุด
arowanas สายพันธุ์อเมริกาใต้ อะโรวาน่า ปลาตะพัด หรือปลามังกร เป็นปลาที่จัดอยู่ในตระกูล Osteoglos Sidae (ออสทีโอกลอสซีดี้) ปลาในตระกูลนี้พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันและผันแปรไปตามแหล่งที่สามารถพบได้ แบ่งได้ 4 สกุล(Genus) และ มีอีก 7 ชนิด(Specises)ด้วยกัน คือ ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด ทวีปออสเตเลีย 2ชนิด ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด ทวีปเอเบียอีก 1 ชนิด (4 สายพันธุ์) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไป
ปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะ เป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามน่า เกรงขามมีเกล็ดขนาดใหญ่และมีสีสีนแวววามมี หนวดซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะคล้าย"มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่างๆ เข้ามาเกี่ยว ข้องกับปลาอะโรวาน่าโดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยง ปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลา ชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด จึงส่งผลให้ราคาปลาดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง สำหรับปลาอะโรวาน่าเกือบทุก สายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์จากทวีปเอเชีย จากการศึกษาตามประวัติของปลา ชนิดนี้พอที่จะทราบได้ว่ามีการขุดค้นพบซากฟอลซิลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จึงทราบว่าปลาอะโรวาน่าจัดเป็นปลาโบราณอยู่ในตระกูล "Osteoglossidae" ซึ่งเป็นตระกูลของปลา ที่มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tougue ปลาชนิดนี้พบ กระจายอยู่ใน 4 ทวีป ทั่วโลก คือ ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอัฟริกา และทวีป ออสเตรเลีย โดยปลาที่มาจากแต่ละทวีปจะมีรูปร่างลักษณะเด่นพิเศษที่แตกต่างกัน ตามไปด้วย โดยเฉพาะปลาที่มาจากทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีราคาแพงมากที่สุด สายพันธุ์อเมริกาใต้ อะโรวาน่า ปลาตะพัด หรือปลามังกร เป็นปลาที่จัดอยู่ในตระกูล Osteoglos Sidae (ออสที โอกลอสซีดี้) ปลาในตระกูลนี้พบแพร่กระ จายอยู่ทั่วโลก โดยมีลักษณะภายนอกที่แตกต่าง กันและผันแปรไปตามแหล่งที่สามารถพบได้ แบ่ง ได้ 4 สกุล(Genus) และ มีอีก 7 ชนิด(Specises) ด้วยกัน คือ ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด ทวีปออสเตเลีย 2ชนิด ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด ทวีปเอเบียอีก 1 ชนิด (4 สายพันธุ์) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไปดังนี้
2. กลุ่มทวีปอเมริกาใต้
3. กลุ่มทวีปแอฟริกา
4. กลุ่มทวีปออสเตรเลีย และนอกจากนั้นลักษณะสีของลำตัว หัวและครีบ ของปลา อะโรวาน่าก็มีสีแตกต่างกันออกตามสาย พันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 สายพันธุ์
ถิ่นกำหนด
ปลาอะโรวาน่าหรือปลาตะพัดเป็นปลาที่จัดอยู่ในครอบครัว Osteoglossidae (ออสทีโอกลอสซิดี้) ปลาในตระกูลนี้หากจัดแบ่งตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือเขตุภูมิภาคที่พบซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากลจะแบ่งออกเป็น 4 สกุล
(Genus) และมี 7 ชนิด (Species) คือ
ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด
ทวีปออสเตรเลีย 2 ชนิด
ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด
ทวีปเอเซีย 1 ชนิด (4 สายพันธุ์)
การเลี้ยงปลามังกร
1. การเตรียมตตู้ การเลี้ยงปลามังกรนั้นผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงเรื่องตู้เป็นอันดับแรก มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ 60*24*24 นิ้ว หรือ ประมาณ 150*60*60 ซม. จะสามารถเลี้ยงจากขนาดเล็กที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปจนถึง ขนาด 24 นิ้ว จะสามารถทำให้ท่านเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 ปี แล้วจึงค่อยขยับขยาย” แต่หากท่านที่มีเนื้อที่
ค่อนข้างจำกัดจริงๆก็สามารถเลี้ยงได้ตลอดไป แต่กระจกที่ใช้ควรจะหนาประมาณ 3 หุน ขึ้นไป และ ในกรณีที่พอมีเนื้อที่ในด้านกว้างที่พอจะเพิ่มได้ควรจะกว้างอย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 75 ซม. สูง 36 นิ้ว แต่จะให้ดีก็ กว้าง 36 นิ้ว หรือ 90 ซม. สูง 36 นิ้ว ไปเลยก็จะดี ปลาขนาดใหญ่จะได้ไม่เครียด”( ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อกันกระโดดด้วย ประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของปลา ) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพื่อผู้เลี้ยงจะไม่ต้องเปลืองสตางค์ซื้อตู้บ่อยๆ แล้วตู้ที่ไม่ได้ใช้เกะกะเต็มบ้านจนต้องยอมขายถูกๆหรือไม่ก็ยกให้ใครไปฟรีๆ แต่ปัญหาที่พบบ่อยปลาเล็กในตู้ขนาดใหญ่ คือ ตื่นกลัว ทำให้การว่ายไม่สง่า ครีบลู่ วิธีแก้คือ หาแท้งค์เมท มาเพิ่มสัก 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาดของตู้ ปลาที่ผมอยากจะแนะนำได้แก่ ปลานกแก้ว เป็นตัวหลัก เพราะ เป็นปลาที่ไม่มีข้อเสีย เลย แถมยังข้อดีเพียบ แต่ ไม่ควรใส่จนเยอะเกินไป หรือ นำนกแก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าปลามังกรใส่ลงไป ก็จะสามารถแก้อาการตื่นกลัวได้ หากไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปลาตื่นกลัว เช่น เด็กชอบมาทุบกระจก หรือ ตู้ปลาอยู่ตรงทางเดินที่มีคนพลุกพล่าน เป็นต้น
ในกรณีท่านที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ เมื่อปลาได้ขนาด 16 –18 นิ้วแล้วจึงย้ายปลาไปอยู่ในตู้ที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้ปลาที่ท่านเลี้ยงโตขึ้นโดยไม่สะดุด และการว่ายจะไม่มีปัญหา และปลาจะไม่เกิดความเครียด
เมื่อท่านเลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมแล้วนั้นการเลือกระบบการกรองชีวภาพ และรายละเอียดปลีกย่อยทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น
3. อาหาร ที่ใช้เลี้ยงปลามังกรก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของปลา รวมถึงรูปทรงและสีสันของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ แมลงเกือบทุกชนิด ลูกปลา หนอน ไส้เดือน กบ กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง รวมทั้ง อาหารเม็ด การให้อาหารปลามังกรนั้นไม่จำกัดตายตัว ว่าจะต้องกินอย่างไร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ความสะดวกของผู้เลี้ยง และอุปนิสัยการกินของปลาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ที่ผมจะแนะนำคือ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันนั้นจะต้องไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อปลาอิ่มจะไม่สนใจอาหารแล้วเชิดหน้าใส่ ยกเว้นจะเป็นของที่โปรดปรานจริงๆจึงจะฝืนกินจนพุงกางบางท่านชอบทำแบบนี้แล้วชอบใจว่าปลาของเรากินเก่ง แต่ผลเสียก็คือ ปลาของท่านจะเป็นโรคอ้วน เสียทรง ตาตก เพราะอาหารที่พวกมัน โปรดปรานส่วนใหญ่หนีไม่พ้นอาหารที่มีไขมันสูง อันได้แก่ หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด กบ ตะพาบ ซึ่งอาหารจำพวกนี้ควรควบคุมปริมาณที่ให้ในแต่ละวัน แต่จะงดไปเลยก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ปลาท่านไม่โต หรือโตช้า เนื่องจากอาหารจำพวกนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโต การให้อาหารที่ดีนั้น ท่านควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆเพื่อสุขภาพปลาของท่านจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง เหมือนกับคนเราที่ได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้
เดือนมกราคม หนอนนก กุ้งฝอย ลูกปลา
เดือนกุมภาพันธ์ หนอนยักษ์ กุ้งฝอย ลูกกบ
เดือนมีนาคม จิ้งหรีด กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง
เดือนเมษายน ตะขาบ กุ้งฝอย ลูกตะพาบ
เดือนพฤษภาคม แมลงป่อง กุ้งฝอย จิ้งจก
เดือนมิถุนายน ก็กลับหมุนเวียนเอาของเดือนมกราคมขึ้นมาใหม่ เป็นต้น
หรือ จะเอาทุกอย่างมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันก็ได้ แต่อาหารที่มีทั่วไปหาซื้อง่าย ได้แก่ หนอนนก กุ้งฝอย เนื้อกุ้งสด ลูกปลา จิ้งหรีด ลูกกบ อาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลามังกรได้แก่ แมลงสาบ ถ้าท่านไม่ได้เพาะพันธ์เองไม่ควรใช้ เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว จะทำให้ย่อยยาก อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ หรือเมื่อใช้เลี้ยงไปนานๆปลาของท่านอาจจะตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะในเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้นจะมีพยาธิบางชนิดค่อยๆกัดกินอวัยวะภายในจนตาย เนื่องจากมันไม่ใช่อาหารของมันตามธรรมชาติ จึงไม่มีกลไกภายในร่างกายสามารถป้องกันได้
ปลามังกรจัดเป็นปลาที่มีราคาแพงทั้งในประเทศแลละต่างประเทศ ซึ่งถ้าได้เกณฑ์มาตรฐานแล้วราคาอาจสูงถึงหลักล้านเลยทีเดียว ผู้เลี้ยงปลามังกรหลายท่านเชื่อว่า ถ้าเลี้ยงแล้วจะมีโชคลาภ จึงทำให้ความนิยมในการเลี้ยงปลามังกรไม่เคยตกลงเลย มีผู้เลี้ยงบางท่านยอมลงทุนอย่างมากเพื่อที่จะได้ปลาชนิดนี้มาเลี้ยงโดยไม่ต้องคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่ปลามังกรตัวโตๆจะมีเกล็ดมันวาว แต่สำหรับบางท่านที่ต้องการเห็นตั้งแต่ตัวเล็กๆจนปลามังกรค่อยๆโตขึ้น เราก็มีเคล็ดลับง่ายๆในการเลี้ยงให้ปลามังกรโตเร็วและมีสุขภาพที่แข็งแรงด้วยวิธีง่ายๆและมีปัจจัยหลักๆดังนี้
อาหาร สารอาหารที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของปลามังกร คือ โปรตีน และแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้เราหาได้จาก ปลา นั่นเอง ดังนั้นการให้ลูกปลาเป็นอาหารจะให้ผลดีที่สุด แต่ก็ควรสลับกับอาหารชนิดอื่นๆบ้าง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารชนิดนี้ควรล้างและลวกซะก่อน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อบางชนิด บางท่านให้กินแมลงสาบเป็นอาหาร ซึ่งวิธีนี้ควรทบทวนให้ดี เพราะแมลงสาบเป็นพาหะอย่างหนึ่งที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่ตัวปลา ส่วนการให้ปลากินอาหารนั้น ควรให้ในปริมาณน้อยๆแต่ให้ถี่ๆ แต่คงจะยากสำหรับคนที่ไม่มีเวลามากพอที่จะนั่งเฝ้าดูปลากินอาหารทั้งวัน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ขอแนะนำให้ฝึกปลากินอาหารให้เป็นเวลาจะดีที่สุด
น้ำ น้ำที่ดีที่สุดควรเป็นน้ำประปาที่ผ่านการกรองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 24 ชม. pH ควรอยู่ที่ 6.5-6.8 ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20-30% ของน้ำในตู้ทุกๆเดือน จะทำให้ปลารู้สึกสดชื่นกระตือรือร้นทันที
อุณหภูมิ ไม่ควรปล่อยให้ต่ำเกินไป เพราะจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อย ควรรักษาอุณหภูมิในตู้ให้คงที่
สภาพแวดล้อม จัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด จะทำให้ปลาไม่ตื่นกลัว และสามารถกินอาหารได้มากขึ้น
โรคภัย โรคปลาจะเกิดขึ้นได้ ถ้าหากผู้เลี้ยงละเลยปัจจัยทั้ง 5 ที่กล่าวมา และการสังเกตปลาเป็นโรคเบื้องต้น ให้สังเกตการกินอาหาร และการว่ายน้ำ ถ้ามีอาการช้าลงแสดงว่าปลาเริ่มเป็นโรคแล้ว ควรหาวิธีแก้ไขให้เร็วที่สุด
เพียงแค่ท่านปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมานี้ ท่านก็จะได้เห็นปลามังกรที่โตเร็วและแข็งแรงเป็นผลตอบแทน Fish Zone ฉบับที่ 45 ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ. 2547