นายโกวิทย์ ศิลพัฒน์ เกษตรอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ นางสินีนารถ วิเศษวงษา นางสาวประทุมพร คำภาสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษ...
นายโกวิทย์ ศิลพัฒน์ เกษตรอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ นางสินีนารถ วิเศษวงษา นางสาวประทุมพร คำภาสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด นายชาญวิทย์ จันทะบุรี (Young Smart Farmer) ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พุธที่ 28 มีนาคม 2561 เวลา 04.30 น.
นายโกวิทย์ ศิลพัฒน์ เกษตรอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ นางสินีนารถ วิเศษวงษา นางสาวประทุมพร คำภาสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด นายชาญวิทย์ จันทะบุรี (Young Smart Farmer) ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันก่อน
โดยเกษตรกรรายนี้มีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดส่งตลาดประมาณ 600-800 กิโลกรัมต่อเดือน และมีการแปรรูปจิ้งหรีด เป็นคุกกี้จิ้งหรีด และผงโปรตีนจิ้งหรีด จิ้งหรีดทอดสมุนไพร นำออกจำหน่ายในชุมชนและตลาดในตัวเมืองร้อยเอ็ด สามารถสร้างรายได้กว่า 250,000 บาทต่อปี
ปัจจุบันจิ้งหรีด กำลังเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดที่มีเกษตรกรนิยมเลี้ยงเพื่อจำหน่ายจำนวนมาก เพราะเป็นแมลงที่สามารถบริโภค มีคุณค่าทางอาหารสูงเทียบเท่ากับเนื้อปลาทู เนื้อไก่ และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เป็นแมลงกินพืชที่สามารถควบคุมการเลี้ยงให้ปลอดสารเคมีได้ ด้วยการนำพืชที่ปลูกโดยปลอดจากสารเคมีมาใช้เลี้ยง ปลอดภัยจากสารพิษ จึงเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่มีคุณภาพ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย และชาวเอเชียหลายประเทศ
ตลาดกลุ่มผู้บริโภคจิ้งหรีดในปัจจุบันมีการขยายตัวมาก และมีเกษตรกรสนใจหันมาเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพหลักเพิ่มมากขึ้น โดยมีผู้เลี้ยงจิ้งหรีดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศประมาณ 20,089 ราย ผล ผลิตจิ้งหรีดรวมกว่า 656 ตัน ต่อปี คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 65,606,700 บาท มีมูลค่าส่งออกไม่ต่ำกว่า 65 ล้านบาท สร้างรายได้ให้เกษตรกรในแต่ละแห่งที่รวมตัวกันเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้จิ้งหรีดยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมายในทุกวันนี้ อาทิ คุกกี้จิ้งหรีด จิ้งหรีดกระป๋อง ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกันพัฒนากระบวนการผลิตและการแปรรูปที่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยทางอาหาร
แมลงเป็นอาหารประเภทแหล่งโปรตีนชนิดใหม่ที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือเอฟเอโอ (FAO) ยอมรับและส่งเสริมให้ผู้คนทั่วโลกหันมาบริโภค เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9,000 ล้านคนภายในปี 2593 ซึ่งอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนทั้งอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ แมลงจึงเป็นอาหารโปรตีนทางเลือกใหม่ที่มีราคาถูกและสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น
จึงทําให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนผลิตแมลงในไทย โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด พร้อมตั้งโรงงานแปรรูปจิ้งหรีดส่งออกไปต่างประเทศ เช่นสหภาพยุโรป (EU) จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรหลังช่วงทํานาหรือระหว่างฤดูแล้ง
ปัจจุบันไทยนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพและมีความชํานาญในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดในเชิงพาณิชย์ โดยมีฟาร์มจิ้งหรีด ประมาณ 20,000 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์และ มหาสารคาม
สําหรับพันธุ์จิ้งหรีดที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงมี 3 สายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์สะดิ้ง ทองดํา และจิ้งหรีดขาว โดยมีกําลังผลิตสูงถึง 7,500 ตันต่อปีคิดเป็นมูลค่าจิ้งหรีดสดไม่น้อยกว่า 750 ล้านบาท.
https://www.farmky.com/787