Through years of research determining which elements and their combinations affect plant growth, scientists (inadvertently at first) d...
Through years of research determining which elements and their combinations affect plant growth, scientists (inadvertently at first) discovered the first hydroponic formulas. This allowed for greater control over plant nutrition and therefore increased production.
การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน หรือ การปลูกผักไร้ดิน นี้เป็นเทคโนโลยีที่เคยมีมาก่อนแล้ว เพราะปัจจุบันกระแสการหันมาใสใจในสุขภาพของคนไทยมีมากขึ้นเป็นลำดับ ผักปลอดสารพิษ ผักกางมุ้ง และผักไฮโดรโปนิกส์ จึงเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งนอกจากจะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างแล้ว สีสันยังดูน่ารับประทาน และรสชาติดีอีกด้วย ณ วันนี้
ผักไฮโดรโปนิกส์ นอกจากจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของสุขภาพคนไทยแล้ว การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน ยังจะเป็นหนึ่งในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในชุมชนใกล้เคียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส) ที่อาจารย์อารักษ์ ธีระอำพน อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ลงไปสู่โรงเรียน ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาของชุมชน
ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ เทคโนโลยีการปลูกผักไร้ดินและการจัดการที่ใช้ปลูกยังจะช่วยบ่มเพาะให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ รวมถึงกระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์อีกด้วย (Hydroponics ของคุณธวัชชัย) ทั้งนี้สามารถทำเองได้นี้โดยไม่เสียเวลาในการปลูกมากนัก
ปลูกผักไร้ดิน Hydroponics
คือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยหลักการแล้ว มี 2 แบบ คือ
- การปลูกในน้ำ ซึ่งบริเวณรอบๆ รากของพืชเป็นของเหลว รากจะแตกออกมาที่ของเหลวนั่นเอง
- การปลูกในวัสดุแข็ง เช่น แกลบ ทราย ขุยมะพร้าว หินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นวัสดุปลูกที่ไม่ได้ให้ธาตุอาหารกับพืชแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นวัสดุที่ช่วยค้ำและพยุงรากนั่นเอง
ในอดีตกระแสความนิยมของการปลูกพืชแบบนี้เป็นไปเนื่องเพราะความพยายามของบริษัทนำเข้าอุปกรณ์การปลูกมากกว่าจะเป็นกระแสบริโภคนิยมอย่างแท้จริง ทำให้ผักไร้ดิน Hydroponics ซบเซาไปพักหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาได้รับความนิยมขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ด้วยคนไทยหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น กระแสการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จึงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งจากผู้บริโภค เกิดตลาดรองรับ และแม้แต่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็เล็งเห็นความสำคัญของการขยายตัว จึงให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านนี้ ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาทำมากขึ้น ก่อให้เกิดรูปแบบ เทคนิค และเทคโนโลยีในการผลิตที่หลากหลายขึ้น กลายเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคตามมา
พืชที่นิยมปลูกแบบ Hydroponics กว่า 90 % เป็นประเภทพืชผักที่ใช้รับประทานในชีวิตประจำวัน อาทิ ผักสลัดหรือผักกาดหอมต่างประเทศ ในอดีตที่ต้องนำเข้ากิโลกรัมละหลายร้อยบาท แต่ปัจจุบันสามารถลดการนำเข้าได้เกือบ 100 % นอกจากนี้ยังเป็นพืชผักประเภทกลุ่มผักตะวันออก เช่น คะน้า กว้างตุ้ง คะน้าฮ่องกง ผักกาดขาว เป็นต้น ซึ่งปรากฏว่ามีคนสนใจเริ่มมาทำตรงนี้มากขึ้น และมีผลตอบรับค่อนข้างดี พืชผักกลุ่มนี้ก็ตอบสนองต่อระบบนี้ได้ดี ตลาดกว้างขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผักต่างประเทศกลุ่มเดียวเท่านั้น การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน พืชผักที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง เช่น แตงเทศหรือแตงแคนตาลูป ที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยกำลังผลิตอยู่
ซึ่งหากการปลูกผักไร้ดินในสภาพแวดล้อมปกติจะต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก มีสารพิษตกค้าง ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่หากปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ หรือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ รวมทั้งสามารถควบคุมคุณภาพได้ด้วย และแม้แต่พืชผักและพืชสมุนไพร เช่น สะระแหน่ วอเตอร์เครส หญ้าปักกิ่งหรือหญ้าเทวดา ก็สามารถตอบสนองต่อระบบไฮโดรโปนิกส์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหญ้าเทวดา พบว่าให้ผลผลิตสูงมากเมื่อเทียบต่อตารางพื้นที่ งานวิจัยเกี่ยวกับ Hydroponics
------------------------------------------
Data from: kasetorganic