นกกระจอกเทศจัดเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล ที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกจนถึงยุคโลกจนถึงยุค โลกาภิวัตน์เป็นสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในท...
นกกระจอกเทศจัดเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล ที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกจนถึงยุคโลกจนถึงยุค โลกาภิวัตน์เป็นสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาซึ่งป่าแอฟริกาจะเป็นป่าโปร่งมีทุ่งหญ้ากว้างไกล มีพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีบางส่วนเป็นทะเลทราย คนแอฟริกันจะมีความคุ้นเคยกับนกกระจอกเทศเกือบทุกส่วน ตั้งแต่เนื้อ ไข่สำหรับบริโภค หนังทำเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ เปลือกไข่ไว้บรรจุน้ำหรือทำเครื่องประดับ และขนทำเครื่องประดับของเผ่า เป็นต้น
กล่าวได้ว่า การทำฟาร์มนกกระจอกเทศนั้นเริ่มต้นเกิดขึ้นในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ต่อมาการทำฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศแพร่หลายเพิ่มขึ้นในทวีปต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ อิสราเอลออสเตรเลีย และจีน เป็นต้น นับได้ว่าปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศไม่น้อยกว่า 5,000 ฟาร์มทั่วโลก
ลักษณะและพฤติกรรมโดยทั่วไป
นกกระจอกเทศจัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดตัวโตเต็มที่สูงประมาณ 1.9-2.8 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนัก ประมาณ 165 กิโลกรัม มีอายุยืนประมาณ 65-75 ปี ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัย ขนตามลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาวสวยงามมาก สำหรับตัวเมีย จะมีขนตามตัว สีน้ำตาลปนเทาปากมีลักษณะแบน และกว้าง ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศรีษะล้าน บางชนิดมีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อน คอยาวและมีขนอ่อน ปีกเล็กไม่สมตัว ขนที่ปีกยาว 1-2 ฟุต แต่ก็ไม่ใช่ขนสำหรับใช้บิน ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน
ลักษณะเท้านกกระจอกเทศจะมีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและ นิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มาก คือ นิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็ว ของฝีเท้ามักจะมีนิ้วครบชุดมือ - เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้า เพื่อหนีศัตรู ธรรมชาติก็วิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่น เท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า และนกกระจอกเทศจะมีเล็บเท้าข้างละ 1 เล็บเท่านั้น
นกกระจอกเทศจะชอบอยู่กันเงียบ ๆ และไม่ชอบเสียงดัง ถ้ามีอะไรรบกวนให้ตกใจ นกกระจอกเทศจะลุกและวิ่งหนีไปข้างหน้าทันที
นกกระจอกเทศถึงแม้ว่าจะมีมันสมองเล็ก แต่ก็มีความสามารถในการจดจำบางสิ่งบางอย่างได้เป็นอย่างดี มีความสามารถจำผู้ที่เลี้ยงดูเป็นอย่างดี จำสถานที่พักอาศัยที่ปลอดภัยดี และถ้าตกใจหรือถูกรังแกทำร้ายจากสัตว์ชนิดใด นกกระจอกเทศจะจดจำ เมื่อจวนตัวหรือโกรธจะต่อสู้ป้องกันตัวด้วยการเตะหรือถีบไปข้างหน้า ธรรมชาติได้สร้างให้นกกระจอกเทศมีสีที่พรางตัวเป็นอย่างดีในทุ่งหญ้าแถบทะเลทราย มีคอที่ยาว 90-95 เซนติเมตร และสายตาที่ดีมาก จึงสามารถมองเห็นศัตรูที่จะมาทำร้ายได้ในระยะไกลถึง 12-14 กิโลเมตร นกจะยืดหดคอและหัวขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลาเพื่อเป็นการตรวจสอบระแวดระวังภัย
โดยทั่วไปแล้วนกกระจอกเทศขอบที่จะอาศัยอยู่ในสภาพพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน มีความชื้นต่ำ ในเวลากลางวันที่แดดร้อนจัดจะหลบเข้าตามร่มเงาของต้นไม้ ดังนั้น การเลี้ยงนกกระจอกเทศจะให้ประสบความสำเร็จ ควรจะเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนหรืออบอุ่น ไม่มีฝนตกชุกมากนักและต้องมีความชื้นต่ำ ซึ่งในประเทศไทยพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เป็นต้น
พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณฝนชุกและความชื้นสูง พายุลมฝน และบางครั้งมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน อากาศชื้น ซึ่งจำทำให้นกกระจอกเทศเจ็บป่วยได้
ภูมิอากาศที่เป็นอันตรายที่สุดสำหรับนกกระจอกเทศ คือ ลมพายุฝน ฝนที่ตกพรำ ๆ ติดต่อกันหลายวัน เพราะจะทำให้ช่วงเวลาให้ไข่ลดลงด้วย
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศเมื่อมีอายุประมาณ 10-14 เดือน น้ำหนักประมาณ 90-110 กิโลกรัม เป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด แต่ต้นทุนการผลิตต่ำสุด เมื่อนกกระจอกเทศอายุมากขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อจะยิ่งสูงขึ้น (FCR) ซึ่งหมายถึงต้นทุนในการผลิตจะยิ่งมากขึ้นด้วย ในนกกระจอกเทศหนึ่งตัวสามารถให้ผลผลิตต่าง ๆ มากมาย และมีคุณภาพดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหนัง ขน ไข่ หรือน้ำมัน เพราะผลผลิตแต่ละชนิดมีความพิเศษเฉพาะตัวดังนี้
หนัง (Leather)
ถือว่าเป็นส่วนที่มีมูลค่าและราคาแพงที่สุด เพราะหนังนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีเยี่ยม และทนทานกว่าหนังจระเข้ นกกระจอกเทศ 1 ตัว จะให้หนังที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปถึง 3 แบบ คือ
# หนังส่วนแข้ง จะมีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายหนังของสัตว์เลื้อยคลาน
# หนังบริเวณต้นขา จะเป็นหนังเกลี้ยงเรียบคล้ายหนังวัว
# หนังบริเวณหลัง จะมีเม็ดตุ่มนูนขึ้นมา ซึ่งตุ่มนี้คือรูขุมขนนั่นเอง หนังส่วนนี้จะมีราคาแพงที่สุด ยิ่งถ้าตุ่มรูขุมขนนูนเด่นชัดเจนและสม่ำเสมอจะยิ่งมีราคาแพง
หนังของนกกระจอกเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นเสื้อแจ็คเก็ต กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด บู๊ต หรือเฟอร์นิเจอร์ นกกระจอกเทศอายุ 10-14 เดือน จะให้หนังที่มีคุณภาพดีที่สุด ขนาด 1.1 - 1.5 ตารางเมตร
เนื้อ (Ostrich meat)
เนื้อนกกระจอกเทศจะมีสีแดง (Red meat) เหมือนวัว แต่จะนุ่มกว่า (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุเนื้อนกกระจอกเทศที่ฆ่าด้วย) มีโปรตีนสูง แต่ไขมันต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อวัว หรือสัตว์ใหญ่
ตารางส่วนประกอบของโภชนะของเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ (จากเนื้อสัตว์ชนิดละ 100 กรัม)
นกกระจอกเทศจัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดตัวโตเต็มที่สูงประมาณ 1.9-2.8 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนัก ประมาณ 165 กิโลกรัม มีอายุยืนประมาณ 65-75 ปี ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัย ขนตามลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาวสวยงามมาก สำหรับตัวเมีย จะมีขนตามตัว สีน้ำตาลปนเทาปากมีลักษณะแบน และกว้าง ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศรีษะล้าน บางชนิดมีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อน คอยาวและมีขนอ่อน ปีกเล็กไม่สมตัว ขนที่ปีกยาว 1-2 ฟุต แต่ก็ไม่ใช่ขนสำหรับใช้บิน ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน
ลักษณะเท้านกกระจอกเทศจะมีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและ นิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มาก คือ นิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็ว ของฝีเท้ามักจะมีนิ้วครบชุดมือ - เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้า เพื่อหนีศัตรู ธรรมชาติก็วิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่น เท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า และนกกระจอกเทศจะมีเล็บเท้าข้างละ 1 เล็บเท่านั้น
นกกระจอกเทศจะชอบอยู่กันเงียบ ๆ และไม่ชอบเสียงดัง ถ้ามีอะไรรบกวนให้ตกใจ นกกระจอกเทศจะลุกและวิ่งหนีไปข้างหน้าทันที
นกกระจอกเทศถึงแม้ว่าจะมีมันสมองเล็ก แต่ก็มีความสามารถในการจดจำบางสิ่งบางอย่างได้เป็นอย่างดี มีความสามารถจำผู้ที่เลี้ยงดูเป็นอย่างดี จำสถานที่พักอาศัยที่ปลอดภัยดี และถ้าตกใจหรือถูกรังแกทำร้ายจากสัตว์ชนิดใด นกกระจอกเทศจะจดจำ เมื่อจวนตัวหรือโกรธจะต่อสู้ป้องกันตัวด้วยการเตะหรือถีบไปข้างหน้า ธรรมชาติได้สร้างให้นกกระจอกเทศมีสีที่พรางตัวเป็นอย่างดีในทุ่งหญ้าแถบทะเลทราย มีคอที่ยาว 90-95 เซนติเมตร และสายตาที่ดีมาก จึงสามารถมองเห็นศัตรูที่จะมาทำร้ายได้ในระยะไกลถึง 12-14 กิโลเมตร นกจะยืดหดคอและหัวขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลาเพื่อเป็นการตรวจสอบระแวดระวังภัย
โดยทั่วไปแล้วนกกระจอกเทศขอบที่จะอาศัยอยู่ในสภาพพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน มีความชื้นต่ำ ในเวลากลางวันที่แดดร้อนจัดจะหลบเข้าตามร่มเงาของต้นไม้ ดังนั้น การเลี้ยงนกกระจอกเทศจะให้ประสบความสำเร็จ ควรจะเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนหรืออบอุ่น ไม่มีฝนตกชุกมากนักและต้องมีความชื้นต่ำ ซึ่งในประเทศไทยพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เป็นต้น
พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณฝนชุกและความชื้นสูง พายุลมฝน และบางครั้งมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน อากาศชื้น ซึ่งจำทำให้นกกระจอกเทศเจ็บป่วยได้
ภูมิอากาศที่เป็นอันตรายที่สุดสำหรับนกกระจอกเทศ คือ ลมพายุฝน ฝนที่ตกพรำ ๆ ติดต่อกันหลายวัน เพราะจะทำให้ช่วงเวลาให้ไข่ลดลงด้วย
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศเมื่อมีอายุประมาณ 10-14 เดือน น้ำหนักประมาณ 90-110 กิโลกรัม เป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด แต่ต้นทุนการผลิตต่ำสุด เมื่อนกกระจอกเทศอายุมากขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อจะยิ่งสูงขึ้น (FCR) ซึ่งหมายถึงต้นทุนในการผลิตจะยิ่งมากขึ้นด้วย ในนกกระจอกเทศหนึ่งตัวสามารถให้ผลผลิตต่าง ๆ มากมาย และมีคุณภาพดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหนัง ขน ไข่ หรือน้ำมัน เพราะผลผลิตแต่ละชนิดมีความพิเศษเฉพาะตัวดังนี้
หนัง (Leather)
ถือว่าเป็นส่วนที่มีมูลค่าและราคาแพงที่สุด เพราะหนังนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีเยี่ยม และทนทานกว่าหนังจระเข้ นกกระจอกเทศ 1 ตัว จะให้หนังที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปถึง 3 แบบ คือ
# หนังส่วนแข้ง จะมีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายหนังของสัตว์เลื้อยคลาน
# หนังบริเวณต้นขา จะเป็นหนังเกลี้ยงเรียบคล้ายหนังวัว
# หนังบริเวณหลัง จะมีเม็ดตุ่มนูนขึ้นมา ซึ่งตุ่มนี้คือรูขุมขนนั่นเอง หนังส่วนนี้จะมีราคาแพงที่สุด ยิ่งถ้าตุ่มรูขุมขนนูนเด่นชัดเจนและสม่ำเสมอจะยิ่งมีราคาแพง
หนังของนกกระจอกเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นเสื้อแจ็คเก็ต กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด บู๊ต หรือเฟอร์นิเจอร์ นกกระจอกเทศอายุ 10-14 เดือน จะให้หนังที่มีคุณภาพดีที่สุด ขนาด 1.1 - 1.5 ตารางเมตร
เนื้อ (Ostrich meat)
เนื้อนกกระจอกเทศจะมีสีแดง (Red meat) เหมือนวัว แต่จะนุ่มกว่า (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุเนื้อนกกระจอกเทศที่ฆ่าด้วย) มีโปรตีนสูง แต่ไขมันต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อวัว หรือสัตว์ใหญ่
ตารางส่วนประกอบของโภชนะของเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ (จากเนื้อสัตว์ชนิดละ 100 กรัม)
นกกระจอกเทศจะนำไปเข้าโรงงานแปรรูปที่อายุระหว่าง 10-14 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วย ซึ่งถ้าเป็นนกกระจอกเทศคอดำจะส่งโรงงานแปรรูปที่อายุ 12-14 เดือน ส่วนคอน้ำเงิน และคอแดง จะส่งที่อายุ 9-12 เดือน ซึ่งถือว่าเป้นช่วงที่ดีที่สุด และโตเต็มที่แล้ว โดยจะมีน้ำหนักระหว่าง 90-110 กิโลกรัม เมื่อชำแหละแล้วจะได้น้ำหนักซากประมาณ 60 กิโลกรัม หรือระหว่าง 56-64% ซึ่งคิดเป็นเนื้อแดงประมาณ 34-43 กิโลกรัม โดยนกกระจอกเทศตัวผู้จะให้เนื้อมากกว่าตัวเมียประมาณ 8.5-14.1 %
13ขน (Feathers)
พัฒนาการของขนนกกระจอกเทศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงโตเต็มที่แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะแรกเกิด (0-1 เดือน) เข้าสู่ระยะลูกนก (1-4 เดือน) แล้วเป็นนกรุ่น (5-15 เดือน) และไปสิ้นสุดที่นกโตเต็มวัยใช้เวลา 16 เดือน แลหลังจากอายุ 2 ปีไปแล้ว ขนนกจะไม่มีการพัฒนารูปแบบอีกเลย โดยนกกระจอกเทศตัวผู้จะมีขนลำตัวสีดำ ส่วนปลายปีกและขนหางจะมีสีขาว สำหรับตัวเมียจะมีขนสีน้ำตาลเทา ซึ่งขนสีขาวหรือสีขาวนวลที่ปลายปีกและหาง จะมีราคาแพงที่สุด ผู้เลี้ยงสามารถตัดขนนกกระจอกเทศได้ปีละ 2 ครั้ง โดยทิ้งระยะห่างกันทุก 6-8 เดือน จะได้ขนนกประมาณ 1.5-2.0 กิโลกกรัมต่อปี ขนนกกระจอกเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งเสื้อผ้า ส่วนขนด้านในจะใช้ทำไม้ปัดฝุ่น (dusters) เหมาะสำหรับเครื่องอิเล็คทรอนิคส์ที่บอบบาง เครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะขนนกกระจอกเทศจะมีคุณสมบัติ และลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนขนสัตว์ชนิดอื่นตรงที่มีไขมันเคลือบอยู่ จึงทำให้ทำความสะอาดอุปกรณ์หรือภาชนะอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถนำไปฟอกและย้อมสีได้หลายชนิด และจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดผลิตขนนกกระจอกเทศเทียมได้เลย
การเก็บผลผลิตขนนกกระจอกเทศ
1. การถอน (Plucking) โดยใช้มือดึงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนก โดยเลือกจากโคนขนที่แห้งและใกล้จะหลุดแล้ว เพราะถ้ายังเป็นขนสดจะทำให้นกเจ็บ และยังไม่ได้ขนาดที่ตลาดต้องการ โดยดึงออกมาทั้งขนและก้านขน
2. การตัด (Clipping) โดยใช้อุปกรณ์ เช่น กรรไกร ตัดขนตรงที่ต้องการ ซึ่งอาจจะตัดเฉพาะส่วนที่เป็นขน โดยตัดห่างจากหนังประมาณ 2 เซนติเมตร ทิ้งก้านไว้ จนเป็นขนแห้งและจะหลุดร่วงไปเอง ราคาซื้อขายขนนกกระจอกเทศจะถูกหรือแพงขึ้นกับการคัดคุณภาพ (Grading) โดยพิจารณาได้จาก
2.1 ความยาวของขน (Length) โดยปกติถ้าเป็นขนปีกจะยาวไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และขนอ่อนที่ลำตัวต้องยาวไม่น้อยกว่า 25-33 เซนติเมตร
2.2 ความกว้างของขน (Breadth) ขนนกกระจอกเทศ ถ้ายิ่งกว้างจะยิ่งมีราคาแพง ขนปีกที่ดีควรจะกว้าง 30 เซนติเมตร ความยาวของเส้นขนที่ห่างจากก้านทั้งสองด้านจะต้องเท่ากัน และปลายขนจะต้องกลมมน
2.3 ความหนา (Thick of Shaft) ก้านขนจะต้องไม่ใหญ่มาก แต่แข็งแรง และโค้งงอได้อย่างสวยงาม
2.4 ไม่มีตำหนิ ไม่มีรอยฉีกขาด แหว่ง เสียหาย และไม่มีพยาธิ หรือไร (Freedom from Defects) ขนที่ดีจะต้องเป็นมัน อ่อนนุ่ม มีความสม่ำเสมอทั้งด้านซ้ายและขวาของก้านขน
พัฒนาการของขนนกกระจอกเทศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงโตเต็มที่แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะแรกเกิด (0-1 เดือน) เข้าสู่ระยะลูกนก (1-4 เดือน) แล้วเป็นนกรุ่น (5-15 เดือน) และไปสิ้นสุดที่นกโตเต็มวัยใช้เวลา 16 เดือน แลหลังจากอายุ 2 ปีไปแล้ว ขนนกจะไม่มีการพัฒนารูปแบบอีกเลย โดยนกกระจอกเทศตัวผู้จะมีขนลำตัวสีดำ ส่วนปลายปีกและขนหางจะมีสีขาว สำหรับตัวเมียจะมีขนสีน้ำตาลเทา ซึ่งขนสีขาวหรือสีขาวนวลที่ปลายปีกและหาง จะมีราคาแพงที่สุด ผู้เลี้ยงสามารถตัดขนนกกระจอกเทศได้ปีละ 2 ครั้ง โดยทิ้งระยะห่างกันทุก 6-8 เดือน จะได้ขนนกประมาณ 1.5-2.0 กิโลกกรัมต่อปี ขนนกกระจอกเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งเสื้อผ้า ส่วนขนด้านในจะใช้ทำไม้ปัดฝุ่น (dusters) เหมาะสำหรับเครื่องอิเล็คทรอนิคส์ที่บอบบาง เครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะขนนกกระจอกเทศจะมีคุณสมบัติ และลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนขนสัตว์ชนิดอื่นตรงที่มีไขมันเคลือบอยู่ จึงทำให้ทำความสะอาดอุปกรณ์หรือภาชนะอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถนำไปฟอกและย้อมสีได้หลายชนิด และจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดผลิตขนนกกระจอกเทศเทียมได้เลย
การเก็บผลผลิตขนนกกระจอกเทศ
1. การถอน (Plucking) โดยใช้มือดึงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนก โดยเลือกจากโคนขนที่แห้งและใกล้จะหลุดแล้ว เพราะถ้ายังเป็นขนสดจะทำให้นกเจ็บ และยังไม่ได้ขนาดที่ตลาดต้องการ โดยดึงออกมาทั้งขนและก้านขน
2. การตัด (Clipping) โดยใช้อุปกรณ์ เช่น กรรไกร ตัดขนตรงที่ต้องการ ซึ่งอาจจะตัดเฉพาะส่วนที่เป็นขน โดยตัดห่างจากหนังประมาณ 2 เซนติเมตร ทิ้งก้านไว้ จนเป็นขนแห้งและจะหลุดร่วงไปเอง ราคาซื้อขายขนนกกระจอกเทศจะถูกหรือแพงขึ้นกับการคัดคุณภาพ (Grading) โดยพิจารณาได้จาก
2.1 ความยาวของขน (Length) โดยปกติถ้าเป็นขนปีกจะยาวไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และขนอ่อนที่ลำตัวต้องยาวไม่น้อยกว่า 25-33 เซนติเมตร
2.2 ความกว้างของขน (Breadth) ขนนกกระจอกเทศ ถ้ายิ่งกว้างจะยิ่งมีราคาแพง ขนปีกที่ดีควรจะกว้าง 30 เซนติเมตร ความยาวของเส้นขนที่ห่างจากก้านทั้งสองด้านจะต้องเท่ากัน และปลายขนจะต้องกลมมน
2.3 ความหนา (Thick of Shaft) ก้านขนจะต้องไม่ใหญ่มาก แต่แข็งแรง และโค้งงอได้อย่างสวยงาม
2.4 ไม่มีตำหนิ ไม่มีรอยฉีกขาด แหว่ง เสียหาย และไม่มีพยาธิ หรือไร (Freedom from Defects) ขนที่ดีจะต้องเป็นมัน อ่อนนุ่ม มีความสม่ำเสมอทั้งด้านซ้ายและขวาของก้านขน
ของที่ระลึกที่ผลิตจากเปลือกไข่นกกระจอกเทศ
ไข่ (Eggs)
ไข่นกกระจอกเทศเมื่อโตเต็มที่ขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 950-1,980 กรัม ยาว 15-17 เซนติเมตร กว้าง 12-15 เซนติเมตร เปลือกไข่สีขาวนวล หนา 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไข่สามารถนำไปบริโภคได้เช่นเดียวกับไข่เป็ดหรือไข่ไก่ หากต้องการต้มไข่นกกระจอกเทศจะใช้เวลา 60-80 นาที จึงจะสุก หรือจะนำไปทอดหรือเจียวก็ไดนอกจากคุณค่าทางอาหารสูงแล้วเปลือกไข่ยังสามารถนำไปแกะสลักหรือวาดลวดลายบนเปลือกไข่ เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน
ไข่ (Eggs)
ไข่นกกระจอกเทศเมื่อโตเต็มที่ขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 950-1,980 กรัม ยาว 15-17 เซนติเมตร กว้าง 12-15 เซนติเมตร เปลือกไข่สีขาวนวล หนา 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไข่สามารถนำไปบริโภคได้เช่นเดียวกับไข่เป็ดหรือไข่ไก่ หากต้องการต้มไข่นกกระจอกเทศจะใช้เวลา 60-80 นาที จึงจะสุก หรือจะนำไปทอดหรือเจียวก็ไดนอกจากคุณค่าทางอาหารสูงแล้วเปลือกไข่ยังสามารถนำไปแกะสลักหรือวาดลวดลายบนเปลือกไข่ เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน
ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันนกกระจอกเทศ
น้ำมัน (Oil)
นกกระจอกเทศจะให้น้ำมันตัวละ 4-5 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของการฆ่าด้วย ถ้าฆ่าอายุน้อย ไขมันที่สะสมอยู่ตาส่วนต่าง ๆ ของร่างก็มีน้อย แต่ถ้าอายุมากไขมันก็จะเยอะขึ้น ซึ่งไขมันของนกกระจอกเทศ สามารถนำไปปรุงอาหาร หรือนำไปสกัด (purified) ใช้เป็นส่วนประกอบเครื่องสำอางค์ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นครีมชนิดต่าง ๆ สบู่ ยาสระผม เป็นต้น เพราะสามารถซึมเข้าใต้ผิวหนังได้รวดเร็ว และบำรุงให้ผิวเต่งตึง นวลเนียน
การวางแผนผังฟาร์ม
การวางแผนผังฟาร์มขึ้นกับปัจจัยประกอบหลายประการ แล้วแต่ขนาดของธุรกิจ ปริมาณนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ ปริมาณนกที่เลี้ยงในขนาดต่าง ๆ และพื้นที่ที่จะดำเนินการ การวางแผนผังฟาร์มเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการขยายกิจการต่อไป และการจัดสัดส่วนที่เหมาะสม รวมถึงการควบคุมปริมาณนกกระจอกเทศไปฟาร์มให้เหมาะสมกับพื้นที่
แผนผังฟาร์มโดยทั่วไปประกอบด้วย
1. พื้นที่โรงเรือนฟักไข่
2. พื้นที่โรงเรือนอนุบาลลูกนกกระจอกเทศ
3. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
4. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศฝูง
5. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์
6. พื้นที่เก็บอาหารสัตว์และอุปกรณ์
7. พื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์
8. พื้นที่โรงเรือนกักโรค
9. พื้นที่สำนักงาน
อัตราส่วนของพื้นที่เลี้ยงนกกระจอกเทศ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศควรมีการเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศให้นกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสบายพอสมควร
ซึ่งพื้นที่ที่ทำฟาร์มเลี้ยงควรมีพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 1/3 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นพื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์สำหรับสำรองไว้ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี สำหรับพื้นที่โรงเรือนควรจะมีอยู่ประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมอื่น ๆ ด้วย
แต่พอจะสรุปความต้องการพื้นที่ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศได้ดังนี้
น้ำมัน (Oil)
นกกระจอกเทศจะให้น้ำมันตัวละ 4-5 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของการฆ่าด้วย ถ้าฆ่าอายุน้อย ไขมันที่สะสมอยู่ตาส่วนต่าง ๆ ของร่างก็มีน้อย แต่ถ้าอายุมากไขมันก็จะเยอะขึ้น ซึ่งไขมันของนกกระจอกเทศ สามารถนำไปปรุงอาหาร หรือนำไปสกัด (purified) ใช้เป็นส่วนประกอบเครื่องสำอางค์ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นครีมชนิดต่าง ๆ สบู่ ยาสระผม เป็นต้น เพราะสามารถซึมเข้าใต้ผิวหนังได้รวดเร็ว และบำรุงให้ผิวเต่งตึง นวลเนียน
การวางแผนผังฟาร์ม
การวางแผนผังฟาร์มขึ้นกับปัจจัยประกอบหลายประการ แล้วแต่ขนาดของธุรกิจ ปริมาณนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ ปริมาณนกที่เลี้ยงในขนาดต่าง ๆ และพื้นที่ที่จะดำเนินการ การวางแผนผังฟาร์มเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการขยายกิจการต่อไป และการจัดสัดส่วนที่เหมาะสม รวมถึงการควบคุมปริมาณนกกระจอกเทศไปฟาร์มให้เหมาะสมกับพื้นที่
แผนผังฟาร์มโดยทั่วไปประกอบด้วย
1. พื้นที่โรงเรือนฟักไข่
2. พื้นที่โรงเรือนอนุบาลลูกนกกระจอกเทศ
3. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
4. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศฝูง
5. พื้นที่คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์
6. พื้นที่เก็บอาหารสัตว์และอุปกรณ์
7. พื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์
8. พื้นที่โรงเรือนกักโรค
9. พื้นที่สำนักงาน
อัตราส่วนของพื้นที่เลี้ยงนกกระจอกเทศ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศควรมีการเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศให้นกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสบายพอสมควร
ซึ่งพื้นที่ที่ทำฟาร์มเลี้ยงควรมีพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 1/3 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นพื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์สำหรับสำรองไว้ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี สำหรับพื้นที่โรงเรือนควรจะมีอยู่ประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมอื่น ๆ ด้วย
แต่พอจะสรุปความต้องการพื้นที่ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศได้ดังนี้
ชนิดของคอกและโรงเรือน
1.คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์
การจัดฝูงผสมพันธุ์จะประกอบด้วยนกกระจอกเทศ เพศผู้ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์นกกระจอกเทศ 1-3 ตัว แต่จะนิยมใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว ซึ่งจะต้องมีโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์และวางไข่โรงเรือน 1 หลังต่อนกกระจอกเทศ 1 ชุด คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. โรงเรือน (Shade)
ส่วนประกอบจะต้องมีหลังคาซึ่งมีความสูงไม่น้อยกว่า 2.75-3 เมตร มีฝาผนัง 3 ด้าน มีประตูเข้าออก สามารถป้องกันแดด ลม พายุ ฝน ได้เป็นอย่างดี ตัวโรงเรือนควรจะมีขนาดกว้างยาวประมาณ 3x5 เมตร ประตูเข้าออกควรจะมี 2 ด้าน สาเหตุที่มีประตู 2 ด้าน เพื่อเป็นการป้องกันนกกระจอกเทศไม่ให้เข้ามาทำร้ายขณะเก็บไข่ออกไปฟัก ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์นกกระจอกเทศเพศผู้จะดุและหวงไข่ ต้องกันออกไปข้างนอกก่อนจึงจะเก็บไข่ได้ หรือในกรณีที่นกป่วยจะได้ขังไว้ในโรงเรือนทำให้สามารถจับนกทำการรักษาได้สะดวก หรือในกรณีที่มีพายุฝนตกหนัก ควรจะปิดขังไม่ให้นกกระจอกเทศออกไปเล่นฝน ภายในโรงเรือนจะต้องประกอบด้วยรางน้ำรางอาหาร พื้นของโรงเรือนควรจะเป็นพื้นดินอัดแน่นและปูทับด้วยทรายที่สะอาดให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 6 นิ้วให้ทั่วโรงเรือน สำหรับนกกระจอกเทศเพศเมียจะทำหลุมวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์
2. พี้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง(Outdoor)
สำหรับเป็นที่วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายและถ้าให้ดีควรจะปลูกหญ้าไว้ให้นกจิกกินด้วย
รั้ว สำหรับการออกแบบสร้างรั้วจะต้องพิจารณา
1. รั้วสำหรับคอกนกใหญ่ จะต้องสูงอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาด้วยว่านกที่เลี้ยงเป็นประเภทคอแดง คอน้ำเงิน หรือคอดำเพราะความสูงจะแตกต่างกัน
2. รั้วจะต้องมั่นคงแข็งแรงและทนต่อแรงเตะหรือแรงปะทะของนกกระจอกเทศเมื่อวิ่งมาชนเพราะนกกระจอกเทศวิ่งเร็วอัตราเฉลี่ย 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมน้ำหนักของตัวนกอีกประมาณ 100 กิโลกรัม
3. เป็นรั้วที่สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นเช่น สุนัขเข้าไปรบกวนนกกระจอกเทศเกิดความเครียดและตื่นตกใจ
4. ต้องไม่เป็นรั้วลวดหนาม เพราะจะทำให้นกกระจอกเทศได้รับบาดเจ็บและผิวหนังถูกรั้วขีดข่วน รั้วดังกล่าวควรจะเป็นลวดถักหรือลวดเส้นก็ได้
5. หัวมุมคอกควรจะทำให้โค้งหรือมน เพราะเวลานกกระจอกเทศวิ่งเข้าไปชนแล้วจะไม่รู้จักถอยออกมา แต่ถ้าหากเป็นมุมฉากแล้วควรใช้ยางรถยนต์ไปปิดไว้เพื่อกันกระแทก เป็นการป้องกันการสูญเสียทางหนึ่งด้วย
6. เป็นรั้วที่นกกระจอกเทศมองเห็นได้แต่ไกล ซึ่งอาจจะใช้สีขาวทาหรือแขวนแผ่นไม้สีขาวให้เป็นที่สังเกตและนกมองเห็นชัดเจน
2. โรงเรือนอนุบาลลูกนกกระจอกเทศ
โรงเรือนที่ดีจะต้องมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์ที่เป็นอันตรายแก่ลูกนก เช่น สุนัข แมว ได้เป็นอย่างดี ภายในโรงเรือนควรแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ ที่สามารถใช้กกลูกนกได้ห้องละ 10-15 ตัว พื้นที่ประมาณ 0.25-0.5 ตารางเมตร ต่อลูกนก 1 ตัว ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรก และจะเพิ่มเป็นตัวละ 2 ตารางเมตร เมื่อลูกนกอายุ 3 เดือน
3. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก
สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุระหว่าง 1-4 เดือน คอกเลี้ยงจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพันธุ์พ่อ-แม่พันธุ์ คือ ประกอบด้วยตัวโรงเรือนหรือพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง พื้นที่ภายในโรงเรือนจะใช้ขนาดเฉลี่ย 2-2.5 ตารางเมตร/ตัว และพื้นที่อเนกประสงค์จะใช้พื้นที่เฉลี่ย 20 ตารางเมตร / ตัว การสร้างโรงเรือนควรจะแบ่งออกเป็นคอก ๆ โดยมีรั้วกั้นแบ่งพื้นที่ขนาด 10x25 เมตร ซึ่งจะสามารถเลี้ยงลูกนกได้ 10-15 ตัว รั้วควรมีความสูงประมาณ 1.2-1.5 เมตร ใช้ตาข่ายชนิดตาเล็กถี่ซึ่งหัวลูกนกกระจอกเทศไม่สามารถลอดออกมาได้ และต้องสามารถป้องกันสุนัขและแมวได้เป็นอย่างดี รางน้ำและรางอาหารสามารถปรับระดับความสูงได้ และจะต้องอยู่ภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันฝนและแสงแดด เพื่อความสะดวกในการกินอาหารของลูกนกและกระตุ้นความต้องการกินอาหารของลูกนก
4. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุระหว่าง 4-14 เดือน นกกระจอกเทศวัยนี้ขึ้นอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโตเต็มที่ สามารถอยู่รวมกันได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย คอกสำหรับนกกระจอกเทศรุ่นจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก แต่พื้นที่ใช้สอยภายในโรงเรือนจะมากกว่า นกกระจอกเทศวัยนี้ต้องการพื้นที่ภายในโรงเรือนประมาณ 8-10 ตารางเมตร/ตัว ควรจัดแบ่งเป็นฝูงละ 15-20 ตัว จะทำให้การจัดการง่าย โดยนกมีขนาดใกล้เคียงกันจะทำให้นกไม่รังแกทำร้ายกันมากนัก การกินอาหารจะไม่ได้เปรียบและเสียเปรียบกันและยังช่วยทำให้อัตราการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ดังนั้นโรงเรือนควรจะมีขนาด 5x10 เมตร ภายในควรจะมีรางน้ำ รางอาหารไว้เลี้ยงนกอย่างเพียงพอ ส่วนพื้นที่อเนกประสงค์ควรจะมีขนาดกว้างยาว 30-50 เมตร มีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาบ้างในตอนกลางวันสำหรับนกได้พักผ่อน การจัดผังคอก เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกพ่อ-แม่พันธุ์
อาหารและการให้อาหาร
นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ป่ามาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงในระบบฟาร์มพืชจึงเป็นอาหารหลักของนกกระจอกเทศ นกกระจอกเทศจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินพืช (Herbivorous) แต่ก็ใช่ว่านกกระจอกเทศจะกินแต่พืชอย่างเดียว แมลงต่างๆ หนอน หรือสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ นกกระจอกเทศก็จิกกินเช่นกัน เนื่องจากนกกระจอกเทศสามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในทุ่งหญ้าที่แห้งแล้งไม่สมบูรณ์ สัตว์อื่น ๆ เช่น วัว หรือแกะอยู่ไม่ได้ แต่นกกระจอกเทศก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งนี้เพราะนกกระจอกเทศสามารถย่อยสลายสารอาหารที่มีกากใยได้สูง 40-60%
กระเพาะของนกกระจอกเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่ แต่ไม่มีกระเพาะพัก (Crop) และมีกระเพาะแท้ เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ เป็นต้น ดังนั้น นกกระจอกเทศจึงสามารถย่อยอาหารที่มีกากใยได้เป็นอย่างดี
สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์มอาหารของนกกระจอกเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะผู้เลี้ยงต้องการผลผลิตจากนกกระจอกเทศสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นไข่ เนื้อ หนัง หรือ ขนก็ตาม เนื่องจากต้นทุนในการผลิตจะเป็นค่าอาหาร 60-70% ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศจะเป็นสัตว์กินพืชและย่อยสลายอาหารที่มีใยสูง ๆ ได้ดี แต่ความต้องการโภชนะก็จะต้องครบถ้วนตรงตามความต้องการทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องให้การดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี นกกระจอกเทศกินอาหารข้นในปริมาณ 2-3% ของน้ำหนักตัว
1.คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์
การจัดฝูงผสมพันธุ์จะประกอบด้วยนกกระจอกเทศ เพศผู้ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์นกกระจอกเทศ 1-3 ตัว แต่จะนิยมใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว ซึ่งจะต้องมีโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์และวางไข่โรงเรือน 1 หลังต่อนกกระจอกเทศ 1 ชุด คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. โรงเรือน (Shade)
ส่วนประกอบจะต้องมีหลังคาซึ่งมีความสูงไม่น้อยกว่า 2.75-3 เมตร มีฝาผนัง 3 ด้าน มีประตูเข้าออก สามารถป้องกันแดด ลม พายุ ฝน ได้เป็นอย่างดี ตัวโรงเรือนควรจะมีขนาดกว้างยาวประมาณ 3x5 เมตร ประตูเข้าออกควรจะมี 2 ด้าน สาเหตุที่มีประตู 2 ด้าน เพื่อเป็นการป้องกันนกกระจอกเทศไม่ให้เข้ามาทำร้ายขณะเก็บไข่ออกไปฟัก ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์นกกระจอกเทศเพศผู้จะดุและหวงไข่ ต้องกันออกไปข้างนอกก่อนจึงจะเก็บไข่ได้ หรือในกรณีที่นกป่วยจะได้ขังไว้ในโรงเรือนทำให้สามารถจับนกทำการรักษาได้สะดวก หรือในกรณีที่มีพายุฝนตกหนัก ควรจะปิดขังไม่ให้นกกระจอกเทศออกไปเล่นฝน ภายในโรงเรือนจะต้องประกอบด้วยรางน้ำรางอาหาร พื้นของโรงเรือนควรจะเป็นพื้นดินอัดแน่นและปูทับด้วยทรายที่สะอาดให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 6 นิ้วให้ทั่วโรงเรือน สำหรับนกกระจอกเทศเพศเมียจะทำหลุมวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์
2. พี้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง(Outdoor)
สำหรับเป็นที่วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายและถ้าให้ดีควรจะปลูกหญ้าไว้ให้นกจิกกินด้วย
รั้ว สำหรับการออกแบบสร้างรั้วจะต้องพิจารณา
1. รั้วสำหรับคอกนกใหญ่ จะต้องสูงอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาด้วยว่านกที่เลี้ยงเป็นประเภทคอแดง คอน้ำเงิน หรือคอดำเพราะความสูงจะแตกต่างกัน
2. รั้วจะต้องมั่นคงแข็งแรงและทนต่อแรงเตะหรือแรงปะทะของนกกระจอกเทศเมื่อวิ่งมาชนเพราะนกกระจอกเทศวิ่งเร็วอัตราเฉลี่ย 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมน้ำหนักของตัวนกอีกประมาณ 100 กิโลกรัม
3. เป็นรั้วที่สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นเช่น สุนัขเข้าไปรบกวนนกกระจอกเทศเกิดความเครียดและตื่นตกใจ
4. ต้องไม่เป็นรั้วลวดหนาม เพราะจะทำให้นกกระจอกเทศได้รับบาดเจ็บและผิวหนังถูกรั้วขีดข่วน รั้วดังกล่าวควรจะเป็นลวดถักหรือลวดเส้นก็ได้
5. หัวมุมคอกควรจะทำให้โค้งหรือมน เพราะเวลานกกระจอกเทศวิ่งเข้าไปชนแล้วจะไม่รู้จักถอยออกมา แต่ถ้าหากเป็นมุมฉากแล้วควรใช้ยางรถยนต์ไปปิดไว้เพื่อกันกระแทก เป็นการป้องกันการสูญเสียทางหนึ่งด้วย
6. เป็นรั้วที่นกกระจอกเทศมองเห็นได้แต่ไกล ซึ่งอาจจะใช้สีขาวทาหรือแขวนแผ่นไม้สีขาวให้เป็นที่สังเกตและนกมองเห็นชัดเจน
2. โรงเรือนอนุบาลลูกนกกระจอกเทศ
โรงเรือนที่ดีจะต้องมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์ที่เป็นอันตรายแก่ลูกนก เช่น สุนัข แมว ได้เป็นอย่างดี ภายในโรงเรือนควรแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ ที่สามารถใช้กกลูกนกได้ห้องละ 10-15 ตัว พื้นที่ประมาณ 0.25-0.5 ตารางเมตร ต่อลูกนก 1 ตัว ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรก และจะเพิ่มเป็นตัวละ 2 ตารางเมตร เมื่อลูกนกอายุ 3 เดือน
3. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก
สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุระหว่าง 1-4 เดือน คอกเลี้ยงจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกกระจอกเทศพันธุ์พ่อ-แม่พันธุ์ คือ ประกอบด้วยตัวโรงเรือนหรือพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง พื้นที่ภายในโรงเรือนจะใช้ขนาดเฉลี่ย 2-2.5 ตารางเมตร/ตัว และพื้นที่อเนกประสงค์จะใช้พื้นที่เฉลี่ย 20 ตารางเมตร / ตัว การสร้างโรงเรือนควรจะแบ่งออกเป็นคอก ๆ โดยมีรั้วกั้นแบ่งพื้นที่ขนาด 10x25 เมตร ซึ่งจะสามารถเลี้ยงลูกนกได้ 10-15 ตัว รั้วควรมีความสูงประมาณ 1.2-1.5 เมตร ใช้ตาข่ายชนิดตาเล็กถี่ซึ่งหัวลูกนกกระจอกเทศไม่สามารถลอดออกมาได้ และต้องสามารถป้องกันสุนัขและแมวได้เป็นอย่างดี รางน้ำและรางอาหารสามารถปรับระดับความสูงได้ และจะต้องอยู่ภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันฝนและแสงแดด เพื่อความสะดวกในการกินอาหารของลูกนกและกระตุ้นความต้องการกินอาหารของลูกนก
4. คอกเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น
สำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุระหว่าง 4-14 เดือน นกกระจอกเทศวัยนี้ขึ้นอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโตเต็มที่ สามารถอยู่รวมกันได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย คอกสำหรับนกกระจอกเทศรุ่นจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก แต่พื้นที่ใช้สอยภายในโรงเรือนจะมากกว่า นกกระจอกเทศวัยนี้ต้องการพื้นที่ภายในโรงเรือนประมาณ 8-10 ตารางเมตร/ตัว ควรจัดแบ่งเป็นฝูงละ 15-20 ตัว จะทำให้การจัดการง่าย โดยนกมีขนาดใกล้เคียงกันจะทำให้นกไม่รังแกทำร้ายกันมากนัก การกินอาหารจะไม่ได้เปรียบและเสียเปรียบกันและยังช่วยทำให้อัตราการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ดังนั้นโรงเรือนควรจะมีขนาด 5x10 เมตร ภายในควรจะมีรางน้ำ รางอาหารไว้เลี้ยงนกอย่างเพียงพอ ส่วนพื้นที่อเนกประสงค์ควรจะมีขนาดกว้างยาว 30-50 เมตร มีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาบ้างในตอนกลางวันสำหรับนกได้พักผ่อน การจัดผังคอก เช่นเดียวกับคอกเลี้ยงนกพ่อ-แม่พันธุ์
อาหารและการให้อาหาร
นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ป่ามาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงในระบบฟาร์มพืชจึงเป็นอาหารหลักของนกกระจอกเทศ นกกระจอกเทศจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินพืช (Herbivorous) แต่ก็ใช่ว่านกกระจอกเทศจะกินแต่พืชอย่างเดียว แมลงต่างๆ หนอน หรือสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ นกกระจอกเทศก็จิกกินเช่นกัน เนื่องจากนกกระจอกเทศสามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในทุ่งหญ้าที่แห้งแล้งไม่สมบูรณ์ สัตว์อื่น ๆ เช่น วัว หรือแกะอยู่ไม่ได้ แต่นกกระจอกเทศก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งนี้เพราะนกกระจอกเทศสามารถย่อยสลายสารอาหารที่มีกากใยได้สูง 40-60%
กระเพาะของนกกระจอกเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่ แต่ไม่มีกระเพาะพัก (Crop) และมีกระเพาะแท้ เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ เป็นต้น ดังนั้น นกกระจอกเทศจึงสามารถย่อยอาหารที่มีกากใยได้เป็นอย่างดี
สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์มอาหารของนกกระจอกเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะผู้เลี้ยงต้องการผลผลิตจากนกกระจอกเทศสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นไข่ เนื้อ หนัง หรือ ขนก็ตาม เนื่องจากต้นทุนในการผลิตจะเป็นค่าอาหาร 60-70% ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศจะเป็นสัตว์กินพืชและย่อยสลายอาหารที่มีใยสูง ๆ ได้ดี แต่ความต้องการโภชนะก็จะต้องครบถ้วนตรงตามความต้องการทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องให้การดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี นกกระจอกเทศกินอาหารข้นในปริมาณ 2-3% ของน้ำหนักตัว
ทั้งนี้ผู้เลี้ยงจะต้องคอยสังเกตดูจากตัวนกกระจอกเทศเองด้วย ว่ากินอาหารเพียงพอ อ้วนหรือผอมอย่างไร เพราะบางครั้งให้อาหารมาก นกโตเร็ว ขาจะรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้ขาแบะ และเสียหายได้
เนื่องจากใจแต่ละท้องถิ่นมีวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จะนำมาใช้ประกอบสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศแตกต่างกันไป แต่เพื่อให้ได้อาหารที่ดี มีคุณภาพ จึงมีข้อควรพิจารณาในการผสมอาหารสำหรับเลี้ยงนกกระจอกเทศ ดังนี้
1. ต้องตรงกับความต้องการของนกกระจอกเทศในแต่ละรุ่น ขนาดพันธุ์
2. มีความน่ากิน ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศจะมีต่อมรับรสไม่มากนัก แต่ก็จะเลือกกินอาหารจากลักษณะที่ปรากฏ เช่นสีสัน รูปร่าง หรือกลิ่น
3. ไม่ควรเปลี่ยนสูตรอาหารหรือยี่ห้ออาหารจากสูตรหนึ่งไปใช้อีกสูตรหนึ่งอย่างทันทีทันใด ควรจะค่อยๆ เปลี่ยนทีละน้อยเพื่อให้นกกระจอกเทศคุ้นเคยเสียก่อน
4. อาหารควรมีส่วนผสมของเยื่อใยจากพืช ในสูตรอาหารนั้น ๆ ด้วยเพื่อกระตุ้นในการย่อยด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าอาหารนั้นควรจะมีปริมาณเยื่อใย 15% นอกจากนี้ควรเสริมด้วยหญ้าสด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้นกจิกกินด้วยก็จะดี
ระบบการย่อยอาหารในลูกนกและนกรุ่นจะยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้นสูตรอาหารควรจะมีเยื่อใยจำกัด แต่มีโปรตีนสูง เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต ขณะเดียวกันก็จะต้องระมัดระวังเรื่องแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต เพราะจะทำให้ลูกนกอ้วนเกินไป จนทำให้ขารับน้ำหนักไม่ไหว เกิดขาเป๋หรือพิการได้
ตาราง ความต้องการอาหารของนกกระจอกเทศแต่ละอายุ
1. ต้องตรงกับความต้องการของนกกระจอกเทศในแต่ละรุ่น ขนาดพันธุ์
2. มีความน่ากิน ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศจะมีต่อมรับรสไม่มากนัก แต่ก็จะเลือกกินอาหารจากลักษณะที่ปรากฏ เช่นสีสัน รูปร่าง หรือกลิ่น
3. ไม่ควรเปลี่ยนสูตรอาหารหรือยี่ห้ออาหารจากสูตรหนึ่งไปใช้อีกสูตรหนึ่งอย่างทันทีทันใด ควรจะค่อยๆ เปลี่ยนทีละน้อยเพื่อให้นกกระจอกเทศคุ้นเคยเสียก่อน
4. อาหารควรมีส่วนผสมของเยื่อใยจากพืช ในสูตรอาหารนั้น ๆ ด้วยเพื่อกระตุ้นในการย่อยด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าอาหารนั้นควรจะมีปริมาณเยื่อใย 15% นอกจากนี้ควรเสริมด้วยหญ้าสด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้นกจิกกินด้วยก็จะดี
ระบบการย่อยอาหารในลูกนกและนกรุ่นจะยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้นสูตรอาหารควรจะมีเยื่อใยจำกัด แต่มีโปรตีนสูง เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต ขณะเดียวกันก็จะต้องระมัดระวังเรื่องแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต เพราะจะทำให้ลูกนกอ้วนเกินไป จนทำให้ขารับน้ำหนักไม่ไหว เกิดขาเป๋หรือพิการได้
ตาราง ความต้องการอาหารของนกกระจอกเทศแต่ละอายุ
14น้ำ
น้ำที่จะให้นกกระจอกเทศกินจะต้องใส สะอาด ไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป และควรมีน้ำตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกินตลอดเวลา ปริมาณน้ำที่นกกระจอกเทศกินขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและชนิดของอาหาร ถ้าอากาศร้อนนกกระจอกเทศจะกินน้ำมากกว่าวันที่อากาศเย็น หรือกินอาหารที่มีหญ้าสดผสมอยู่ด้วย ก็จะกินน้ำน้อยกว่ากินอาหารข้นอย่างเดียว แต่โดยเฉลี่ยแล้วนกกระจอกเทศจะกินน้ำวันละประมาณ 9-12 ลิตรสิ่งสำคัญที่ควรระวัง คือ ไม่ควรตั้งภาชนะที่ใส่ไว้ในที่โล่งแจ้งหรือกลางแดด เพราะจะทำให้น้ำในภาชนะนั้นกลายเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนซึ่งนกกระจอกเทศไม่กินน้ำตลอดวัน เป็นสาเหตุให้นกท้องผูกหรือมีโรคอื่น ๆ ตามมา
หิน กรวด
เนื่องจากนกกระจอกเทศไม่มีฟันที่จะใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหาสิ่งทดแทนที่จะช่วยย่อยอาหารที่นกกระจอกเทศกินเข้าไปในสภาพธรรมชาตินกกระจอกเทศจะจิกกินก้อนกรวด ก้อนหิน หรือทรายหยาบจากพื้นดินเพื่อไปช่วยบดอาหารในกึ๋น ดังนั้น การเลี้ยงในระบบฟาร์มก็จำเป็นจะต้องจัดหาหิน กรวด หินเกร็ดเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกิน แต่จะต้องคอยสังเกตด้วยว่าอย่าให้นกกระจอกเทศกินมากเกินไปจนทำให้ไปอุดตันในระบบทางเดินอาหาร
อาหารสำหรับลูกนกกระจอกเทศ (อายุ 0-3 เดือน)
ลูกนกในช่วงอายุ 3 เดือนแรกจะมีอัตราการตายสูงมากกว่าช่วงอายุอื่น ๆ ซึ่งจะมีสาเหตุมาจากการจัดการและอาหาร ดังนั้นเพื่อการป้องกันการสูญเสียดังกล่าว ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ดูแลลูกนกเป็นอย่างดี น้ำ อาหารจะต้องเหมาะสม ครบถ้วนตรงตามความต้องการของลูกนก ในระยะนี้ลูกนกต้องการอาหารที่มีโปรตีน 20% พลังงาน 2,500 - 2,800 กิโลแคลอรี และมีพืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตั้งไว้ให้นกจิกกิน ซึ่งในระยะสองสัปดาห์แรกจะให้ครั้งละน้อย ๆ แล้วเพิ่มปริมาณของหญ้าสดตามอายุของลูกนกที่เพิ่มขึ้น หรืออาจจะปล่อยให้ลูกนกลงไปจิกกินเองในแปลงหญ้าก็ได้ แต่แปลงหญ้านี้จะต้องสะอาด ปราศจากยาฆ่าแมลง หรือมีสิ่งแปลกปลอมตกหล่นอยู่ เช่น ตะปู ลวด กระดุม เศษพลาสติก เป็นต้น เพราะนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัย เห็นอะไรตกหล่นอยู่ก็จะจิกกินซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศเป็นอันตรายได้
นอกจากนี้การปล่อยให้ลูกนกออกไปเดินเล่นและกินหญ้าในแปลงหญ้า จะทำให้ลูกนกได้ออกกำลังกาย ขาก็จะแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งจะได้รับวิตามินดี (D3) จากแสงแดดอีกด้วย
วิธีการให้อาหารลูกนก
ลูกนกเกิดใหม่จะยังมีไข่แดงอยู่ในช่องท้อง ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 วัน เพื่อย่อยไข่แดงดังกล่าวนี้ ดังนั้น ในระยะ 3-4 วันแรกที่ลูกนกออกจากไข่ จึงไม่จำเป็นต้องให้กินอาหาร ส่วนใหญ่จะนิยมนำอาหารและน้ำมาตั้งให้ลูกนกกินหลังจากลูกนกออกจากตู้เกิดแล้ว 1-2 วัน ในระยะแรกลูกนกจะยังไม่รู้จักที่ให้น้ำและอาหาร ดังนั้น ถ้าผู้เลี้ยงไม่ให้ความสนใจที่จะสอนให้ลูกนกรู้จักที่ให้น้ำและอาหาร ลูกนกอาจอดน้ำหรืออาหารตาย หรือไม่ก็พิการได้ จึงควรนำลูกนกไปตรงที่ตั้งภาชนะใส่น้ำและอาหาร แล้วจับปากลูกนกให้สัมผัสน้ำและอาหารเพื่อลูกนกจะได้เรียนรู้ ....ดังได้กล่าวมาแล้วว่า นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัยและชอบสีสันและชอบสีสันจึงทำให้ในบางครั้งผู้เลี้ยง จะใส่ลูกบอลสีต่าง ๆ หรือลูกปิงปองในภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเพื่อให้ลูกนกสนใจและไปจิกกินอาหารและน้ำ โดยทั่วไปแล้วลูกนกชอบอาหารที่มีรูปร่างแปลก ๆ และหญ้าสด อาหารสำหรับลูกนกจะประกอบด้วยพลังงาน 2,500-2,800 กิโลแคลอรี โปรตีน 20% แต่มีเยื่อใยต่ำ คือไม่เกิน 7% อัตราส่วนของแคลเซียม (Ca) และฟอสฟอรัส (P) ต้องเหมาะสมโดยบางครั้งอาจจะเสริมด้วยเปลือกหอยหรือกระดูกป่น
ลูกนกในระยะนี้จะกินอาหารวันละประมาณ 10-40 กรัม และจะเพิ่มปริมาณขึ้นตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ลูกนกจะต้องการอาหารข้นวันละ 1.5-3% ของน้ำหนักตัว ลูกนกจะมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ซึ่งจะทำให้ขาที่มีขนาดเล็กรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วไม่ไหว อาจทำให้ลูกนกขาพิการได้จึงควรจำกัดปริมาณอาหารและให้กินอาหารวันละ 2-4 ครั้ง โดยให้กินอาหารครั้งละน้อย ๆ และหมดภายใน 1 ชั่วโมง
หลังจากนั้นอาจให้พืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกนกกินครั้งละน้อย ๆ วันละ 3-4 ครั้ง โดยเลือกให้ลูกนกกินเฉพาะส่วนที่เป็นใบ เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น จะกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มาขึ้นถึง 20% ของปริมาณอาหารข้นสำหรับผู้เลี้ยงที่ใช้ผักสดที่เหลือจากตลาด หรือตัดหญ้าตามที่สาธารณะทั่วไปจะต้องระมัดระวังในเรื่องยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดวัชพืช ซึ่งถ้าไม่แน่ใจควรจะล้างด้วยด่างทับทิมเสียก่อนที่จะหั่นให้นกกิน
ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา โดยจะต้องเป็นน้ำที่ใส สะอาด ภาชนะที่ใส่น้ำและอาหารจะต้องทำความสะอาดทุกวัน อาหารที่เหลือค้างอยู่ในรางจะต้องไม่นำกลับมาใช้อีก และจะต้องระวังไม่ให้ลูกนกจิกกินอุจจาระที่ลูกนกถ่ายออกมาเพราะจะทำให้ท้องเสียหรือเป็นโรคอื่น ๆ ได้ จึงควรที่จะทำความสะอาด เก็บกวาดขึ้นกออกทิ้งบ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 วันแรก
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4-10 เดือน)
.....ในระยะนี้ลูกนกกระจอกเทศต้องการอาหารที่มีพลังงาน 2,400 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14-15% และเยื่อใย 14% และจะกินอาหารวันละ 1.0-1.5 กิโลกรัมแต่เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มจะอยู่ในอัตราที่ลดลง จึงทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหาระเป็นเนื้อเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จะสามารถกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มากขึ้นด้วย ....ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศในระยะนี้จะต้องการการดูแลเอาใจใส่น้อยกว่าในระยะ 3 เดือนแรก แต่ก็ไม่ควรประมาทจนขาดความเอาใจใส่ โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพอาหารจะต้องตรงตามความต้องการและมีปริมาณที่เพียงพอ น้ำจะต้องใสสะอาด เสริมอาหารด้วยหญ้าหรือผักสด หรือปล่อยให้นกกระจอกเทศไปจิกกินเองในแปลงหญ้า ที่สำคัญต้องหมั่นตัดหญ้าให้สั้นอยู่เสมอ เพราะนกกระจอกเทศชอบกินหญ้าที่ต้นสูงไม่เกิน 5 นิ้ว และนกจะจิกกินเฉพาะส่วนส่วนปลายใบเท่านั้น
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศขุน (อายุ 11-14 เดือน)
นกกระจอกเทศที่อายุ 8-10 เดือน จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 65-95 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ อาหาร และการจัดการ สำหรับนกกระจอกคอแดง อายุ 10 เดือน น้ำหนักอาจจะถึง 100 กิโลกรัม ซึ่งสามารถส่งตลาดได้แล้ว
ในบางแห่งจะซื้อขายกันที่น้ำหนัก 90-95 กิโลกรัม แต่บางแห่งอาจจะต้องการที่น้ำหนัก 100-110 กิโลกรัม อาหารที่นกกระจอกเทศระยะนี้ต้องการคือ มีพลังงาน 2,400-2,500 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 12-16% และเยื่อใย 16% .....ระยะนี้นกกระจอกเทศจะกินอาหารวันละ 1.5-2.0 กิโลกรัม ทั้งนี้หญ้าหรือพืชผักจะต้องมีให้กินหรือจะปล่อยในแปลงหญ้าก็ได้ และที่ขาดไม่ได้ คือ น้ำสะอาดต้องมีให้กินตลอดเวลา
ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศจะสามารถทำการขุนนกกระจอกเทศได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน ทั้งนี้ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องน้ำหนักตัวกับขาเป็นพิเศษแต่ถ้าขุนที่อายุ 6 เดือน เป็นต้นไปจะเสี่ยงน้อยกว่า เพราะนกกระจอกเทศมีพัฒนาการของขาดีมากแล้ว
สำหรับนกกระจอกเทศที่ต้องการจะเก็บไว้ทำพันธุ์นั้น ในช่วงอายุ 14 เดือนขึ้นไปถึงก่อนไข่ เป็นช่วงที่นกกระจอกเทศไม่ให้ผลผลิตแต่อย่างใดและเป็นช่วงที่นกโตเต็มที่แล้ว ผู้เลี้ยงสามารถลดคุณภาพอาหารลงได้ เพราะนกต้องการอาหารแค่ดำรงชีพเท่านั้น โดยอาจจะให้อาหารที่มีโปรตีน 12-14% พลังงาน 2,000-2,200 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เยื่อใย 18-20% ให้กินวันละ 1,200-1,500 กิโลกรัม และมีผัก หญ้าสด เสริมให้มากขึ้น แต่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
ตาราง อัตราการเจริญเติบโตของนกกระจอกเทศที่อายุต่าง ๆ
น้ำที่จะให้นกกระจอกเทศกินจะต้องใส สะอาด ไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป และควรมีน้ำตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกินตลอดเวลา ปริมาณน้ำที่นกกระจอกเทศกินขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและชนิดของอาหาร ถ้าอากาศร้อนนกกระจอกเทศจะกินน้ำมากกว่าวันที่อากาศเย็น หรือกินอาหารที่มีหญ้าสดผสมอยู่ด้วย ก็จะกินน้ำน้อยกว่ากินอาหารข้นอย่างเดียว แต่โดยเฉลี่ยแล้วนกกระจอกเทศจะกินน้ำวันละประมาณ 9-12 ลิตรสิ่งสำคัญที่ควรระวัง คือ ไม่ควรตั้งภาชนะที่ใส่ไว้ในที่โล่งแจ้งหรือกลางแดด เพราะจะทำให้น้ำในภาชนะนั้นกลายเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนซึ่งนกกระจอกเทศไม่กินน้ำตลอดวัน เป็นสาเหตุให้นกท้องผูกหรือมีโรคอื่น ๆ ตามมา
หิน กรวด
เนื่องจากนกกระจอกเทศไม่มีฟันที่จะใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหาสิ่งทดแทนที่จะช่วยย่อยอาหารที่นกกระจอกเทศกินเข้าไปในสภาพธรรมชาตินกกระจอกเทศจะจิกกินก้อนกรวด ก้อนหิน หรือทรายหยาบจากพื้นดินเพื่อไปช่วยบดอาหารในกึ๋น ดังนั้น การเลี้ยงในระบบฟาร์มก็จำเป็นจะต้องจัดหาหิน กรวด หินเกร็ดเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศกิน แต่จะต้องคอยสังเกตด้วยว่าอย่าให้นกกระจอกเทศกินมากเกินไปจนทำให้ไปอุดตันในระบบทางเดินอาหาร
อาหารสำหรับลูกนกกระจอกเทศ (อายุ 0-3 เดือน)
ลูกนกในช่วงอายุ 3 เดือนแรกจะมีอัตราการตายสูงมากกว่าช่วงอายุอื่น ๆ ซึ่งจะมีสาเหตุมาจากการจัดการและอาหาร ดังนั้นเพื่อการป้องกันการสูญเสียดังกล่าว ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ดูแลลูกนกเป็นอย่างดี น้ำ อาหารจะต้องเหมาะสม ครบถ้วนตรงตามความต้องการของลูกนก ในระยะนี้ลูกนกต้องการอาหารที่มีโปรตีน 20% พลังงาน 2,500 - 2,800 กิโลแคลอรี และมีพืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตั้งไว้ให้นกจิกกิน ซึ่งในระยะสองสัปดาห์แรกจะให้ครั้งละน้อย ๆ แล้วเพิ่มปริมาณของหญ้าสดตามอายุของลูกนกที่เพิ่มขึ้น หรืออาจจะปล่อยให้ลูกนกลงไปจิกกินเองในแปลงหญ้าก็ได้ แต่แปลงหญ้านี้จะต้องสะอาด ปราศจากยาฆ่าแมลง หรือมีสิ่งแปลกปลอมตกหล่นอยู่ เช่น ตะปู ลวด กระดุม เศษพลาสติก เป็นต้น เพราะนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัย เห็นอะไรตกหล่นอยู่ก็จะจิกกินซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศเป็นอันตรายได้
นอกจากนี้การปล่อยให้ลูกนกออกไปเดินเล่นและกินหญ้าในแปลงหญ้า จะทำให้ลูกนกได้ออกกำลังกาย ขาก็จะแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งจะได้รับวิตามินดี (D3) จากแสงแดดอีกด้วย
วิธีการให้อาหารลูกนก
ลูกนกเกิดใหม่จะยังมีไข่แดงอยู่ในช่องท้อง ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 วัน เพื่อย่อยไข่แดงดังกล่าวนี้ ดังนั้น ในระยะ 3-4 วันแรกที่ลูกนกออกจากไข่ จึงไม่จำเป็นต้องให้กินอาหาร ส่วนใหญ่จะนิยมนำอาหารและน้ำมาตั้งให้ลูกนกกินหลังจากลูกนกออกจากตู้เกิดแล้ว 1-2 วัน ในระยะแรกลูกนกจะยังไม่รู้จักที่ให้น้ำและอาหาร ดังนั้น ถ้าผู้เลี้ยงไม่ให้ความสนใจที่จะสอนให้ลูกนกรู้จักที่ให้น้ำและอาหาร ลูกนกอาจอดน้ำหรืออาหารตาย หรือไม่ก็พิการได้ จึงควรนำลูกนกไปตรงที่ตั้งภาชนะใส่น้ำและอาหาร แล้วจับปากลูกนกให้สัมผัสน้ำและอาหารเพื่อลูกนกจะได้เรียนรู้ ....ดังได้กล่าวมาแล้วว่า นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ขี้สงสัยและชอบสีสันและชอบสีสันจึงทำให้ในบางครั้งผู้เลี้ยง จะใส่ลูกบอลสีต่าง ๆ หรือลูกปิงปองในภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเพื่อให้ลูกนกสนใจและไปจิกกินอาหารและน้ำ โดยทั่วไปแล้วลูกนกชอบอาหารที่มีรูปร่างแปลก ๆ และหญ้าสด อาหารสำหรับลูกนกจะประกอบด้วยพลังงาน 2,500-2,800 กิโลแคลอรี โปรตีน 20% แต่มีเยื่อใยต่ำ คือไม่เกิน 7% อัตราส่วนของแคลเซียม (Ca) และฟอสฟอรัส (P) ต้องเหมาะสมโดยบางครั้งอาจจะเสริมด้วยเปลือกหอยหรือกระดูกป่น
ลูกนกในระยะนี้จะกินอาหารวันละประมาณ 10-40 กรัม และจะเพิ่มปริมาณขึ้นตามน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ลูกนกจะต้องการอาหารข้นวันละ 1.5-3% ของน้ำหนักตัว ลูกนกจะมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ซึ่งจะทำให้ขาที่มีขนาดเล็กรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วไม่ไหว อาจทำให้ลูกนกขาพิการได้จึงควรจำกัดปริมาณอาหารและให้กินอาหารวันละ 2-4 ครั้ง โดยให้กินอาหารครั้งละน้อย ๆ และหมดภายใน 1 ชั่วโมง
หลังจากนั้นอาจให้พืชผักสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกนกกินครั้งละน้อย ๆ วันละ 3-4 ครั้ง โดยเลือกให้ลูกนกกินเฉพาะส่วนที่เป็นใบ เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น จะกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มาขึ้นถึง 20% ของปริมาณอาหารข้นสำหรับผู้เลี้ยงที่ใช้ผักสดที่เหลือจากตลาด หรือตัดหญ้าตามที่สาธารณะทั่วไปจะต้องระมัดระวังในเรื่องยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดวัชพืช ซึ่งถ้าไม่แน่ใจควรจะล้างด้วยด่างทับทิมเสียก่อนที่จะหั่นให้นกกิน
ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา โดยจะต้องเป็นน้ำที่ใส สะอาด ภาชนะที่ใส่น้ำและอาหารจะต้องทำความสะอาดทุกวัน อาหารที่เหลือค้างอยู่ในรางจะต้องไม่นำกลับมาใช้อีก และจะต้องระวังไม่ให้ลูกนกจิกกินอุจจาระที่ลูกนกถ่ายออกมาเพราะจะทำให้ท้องเสียหรือเป็นโรคอื่น ๆ ได้ จึงควรที่จะทำความสะอาด เก็บกวาดขึ้นกออกทิ้งบ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 วันแรก
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4-10 เดือน)
.....ในระยะนี้ลูกนกกระจอกเทศต้องการอาหารที่มีพลังงาน 2,400 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14-15% และเยื่อใย 14% และจะกินอาหารวันละ 1.0-1.5 กิโลกรัมแต่เมื่อลูกนกอายุมากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มจะอยู่ในอัตราที่ลดลง จึงทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหาระเป็นเนื้อเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จะสามารถกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มากขึ้นด้วย ....ถึงแม้ว่านกกระจอกเทศในระยะนี้จะต้องการการดูแลเอาใจใส่น้อยกว่าในระยะ 3 เดือนแรก แต่ก็ไม่ควรประมาทจนขาดความเอาใจใส่ โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพอาหารจะต้องตรงตามความต้องการและมีปริมาณที่เพียงพอ น้ำจะต้องใสสะอาด เสริมอาหารด้วยหญ้าหรือผักสด หรือปล่อยให้นกกระจอกเทศไปจิกกินเองในแปลงหญ้า ที่สำคัญต้องหมั่นตัดหญ้าให้สั้นอยู่เสมอ เพราะนกกระจอกเทศชอบกินหญ้าที่ต้นสูงไม่เกิน 5 นิ้ว และนกจะจิกกินเฉพาะส่วนส่วนปลายใบเท่านั้น
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศขุน (อายุ 11-14 เดือน)
นกกระจอกเทศที่อายุ 8-10 เดือน จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 65-95 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ อาหาร และการจัดการ สำหรับนกกระจอกคอแดง อายุ 10 เดือน น้ำหนักอาจจะถึง 100 กิโลกรัม ซึ่งสามารถส่งตลาดได้แล้ว
ในบางแห่งจะซื้อขายกันที่น้ำหนัก 90-95 กิโลกรัม แต่บางแห่งอาจจะต้องการที่น้ำหนัก 100-110 กิโลกรัม อาหารที่นกกระจอกเทศระยะนี้ต้องการคือ มีพลังงาน 2,400-2,500 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 12-16% และเยื่อใย 16% .....ระยะนี้นกกระจอกเทศจะกินอาหารวันละ 1.5-2.0 กิโลกรัม ทั้งนี้หญ้าหรือพืชผักจะต้องมีให้กินหรือจะปล่อยในแปลงหญ้าก็ได้ และที่ขาดไม่ได้ คือ น้ำสะอาดต้องมีให้กินตลอดเวลา
ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศจะสามารถทำการขุนนกกระจอกเทศได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน ทั้งนี้ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องน้ำหนักตัวกับขาเป็นพิเศษแต่ถ้าขุนที่อายุ 6 เดือน เป็นต้นไปจะเสี่ยงน้อยกว่า เพราะนกกระจอกเทศมีพัฒนาการของขาดีมากแล้ว
สำหรับนกกระจอกเทศที่ต้องการจะเก็บไว้ทำพันธุ์นั้น ในช่วงอายุ 14 เดือนขึ้นไปถึงก่อนไข่ เป็นช่วงที่นกกระจอกเทศไม่ให้ผลผลิตแต่อย่างใดและเป็นช่วงที่นกโตเต็มที่แล้ว ผู้เลี้ยงสามารถลดคุณภาพอาหารลงได้ เพราะนกต้องการอาหารแค่ดำรงชีพเท่านั้น โดยอาจจะให้อาหารที่มีโปรตีน 12-14% พลังงาน 2,000-2,200 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เยื่อใย 18-20% ให้กินวันละ 1,200-1,500 กิโลกรัม และมีผัก หญ้าสด เสริมให้มากขึ้น แต่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
ตาราง อัตราการเจริญเติบโตของนกกระจอกเทศที่อายุต่าง ๆ
อาหารสำหรับนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
อาหารที่ใช้เลี้ยงจะประกอบด้วย พลังงาน 2,400-2,600 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14-16% และเยื่อใย 16% ซึ่งการให้อาหารนกกระจอกเทศในช่วงนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. ช่วงผสมพันธุ์ (Breeding Season)
2. นอกฤดูผสมพันธุ์ (Off Season)
นกกระจอกเทศในช่วงผสมพันธุ์จะมีความต้องการอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงเพื่อใช้ในการสร้างไข่ ซึ่งถ้าอาหารดีตรงตามความต้องการจะทำให้พ่อ-แม่พันธุ์สมบูรณ์และให้ผลผลิตไข่ที่มีเชื้อดีด้วย เพราะพ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีจะสามารถพิจารณาได้จาก
-ให้ผลผลิตไข่มาก
-เปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อสูง
-อัตราการฟักออกเป็นตัวมาก
-อัตราการเลี้ยงรอดมาก ลูกนกกระจอกเทศแข็งแรง
นอกจากนี้จะต้องพิจารณาอัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัสด้วย (Ca:P) โดยทั่ว ๆ ไปอัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสจะเท่ากับ 1:0.5-0.6 าในสูตรอาหารมีแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้ไปหยุดยั้งการทำงานของแมงกานีสและสังกะสีซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการมีเชื้อของไข่ ....สำหรับอาหารนกกระจอกเทศนอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นอาหารที่กินเพื่อดำรงชีพนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพดีมากนัก สามารถให้พืชหญ้าได้มากขึ้น จนเมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์อีกจึงจะขุนให้นกกระจอกเทศมีร่างกายสมบูรณ์ แต่ไม่อ้วนเกินไป เพราะถ้านกอ้านมาก จะทำให้มีไขมันไปเกาะอยู่ตามระบบสืบพันธุ์ เป็นเหตุให้ผลผลิตลดลง
การผสมพันธุ์
นกกระจอกเทศจะถึงวัยหนุ่มสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่อตัวผู้อายุ 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าพ่อ-แม่พันธุ์นกกระจอกเทศมีความสมบูรณ์แข็ง แรง มีการจัดการที่ดี จะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 40 ปี
เมื่อฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศเพศผู้จะมีปาก ขอบตา และแข้งจะมีสีแดงเข้ม ตัวเมียสีของขนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คงเป็นสีน้ำตาลเทาเช่นเดิม โดยธรรมชาติพ่อนกกระจอกเทศจะคุมฝูงตัวเมียหลายตัว แต่จะมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่เป็นคู่แท้ ส่วนที่เหลือจะเป็นตัวสำรองไป การเลี้ยงในระบบฟาร์มจะจัดตัวเมียให้เป็นคู่ผสมพันธุ์เพียง 1-3 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อพันธุ์
นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาการพร้อมที่จะผสมพันธุ์โดยการนั่งลงบนพื้นบนข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไป ตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการโดยจะกางปีกออำสั่น แต่ไม่นั่งเหมือนตัวผู้
นกกระจอกเทศแสดงอาการเป็นสัด
วิธีผสมพันธุ์
เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวอยู่บนพื้นแต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้งขึ้น แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมียและใช้เท้าขวาเหยียบ
หลังตัวเมีย ส่วนเท้าซ้ายจะอยู่ข้าง ๆ ตัวแม่นกเพื่อสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัวเมีย ซึ่งจะใช้เวลาผสมพันธุ์นานเพียง 1-3 นาที ฤดูผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศในเมืองไทยจะอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมิถุนายนของปีถัดไป การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยอย่างไรขึ้นกับ
1. อาหารมีคุณภาพดี และเหมาะสม
2. ความสมบูรณ์ของนก
3. อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม
ส่วนข้อควรพิจารณาความเหมาะสมของคู่ผสมพันธุ์ ให้พิจารณาจาก
1. ปริมาณไข่ต่อปี
2. อัตราของไข่มีเชื้อ
3. อัตราการฟักออกเป็นตัว
การฟักไข่ของนกกระจอกเทศ
ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศควรจะรู้และเข้าใจเรื่องการพัฒนาการเจริญเติบโต
ของเชื้อลูกนกกระจอกเทศตลอดระยะฟักจนออกมาเป็นตัวลูกนก การฟักไข่นกกระจอกเทศทำได้ 2 วิธี คือ
1. ฟักแบบธรรมชาติ หรือให้แม่นกกระจอกเทศฟักไข่เอง
2. ฟักไข่ด้วยเครื่องฟัก (Incubator)
การฟักไข่แบบธรรมชาติ
แม่นกกระจอกเทศจะเลือกออกไข่ในบริเวณที่โล่งแจ้งบนเนินสูงจากระดับพื้นปกติเล็กน้อยเพื่อมองเห็นศัตรูได้ทุกด้าน และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมไข่ในขณะที่ฟักไข่
แม่นกกระจอกเทศจะออกไข่เป็นชุด ชุดละประมาณ 12-18 ฟอง หลังจากนั้นแม่นกกระจอกเทศจะนั่งฟักไข่ในช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ 09.30 น. ถึง 16.30 น. หลังจากนั้นจะเปลี่ยนให้พ่อนกกระจอกเทศช่วยฟักในเวลากลางคืน
ในช่วงเวลาที่พ่อ-แม่นกกระจอกเทศเปลี่ยนเวรกันฟักไข่นี้เองจะมีการกลับไข่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับไข่ที่ถูกฟักอยู่เพราะจะได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง อุณหภูมิที่ไข่ฟักได้รับจากพ่อ-แม่นกกระจอกเทศระหว่างการฟักไข่จะอยู่ระหว่าง 34-36 ํC ความชื้นประมาณ 33.5 % และใช้เวลาฟักไข่นานถึง 42 วัน
การฟักไข่ด้วยเครื่องฟักไข่
โดยทั่วไปแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ทุกวันเว้นวัน หรือ 2-2.7 วัน ต่อฟอง ดังนั้นหากในแต่ละ ชุดผสมพันธุ์ ที่มีพ่อนกกระจอกเทศ 1 ตัว ต่อแม่นกกระจอกเทศ 1-3 ตัว แม่นกจะออกไข่พร้อมกันในวันเดียวกันหรือสลับวันกันออกไข่ก็ได้ ....เมื่อพบว่าแม่นกออกไข่มาแล้วให้รีบเก็บไข่ออกทันที เพื่อไม่ให้ไข่อยู่บนพื้นนานเกินไป เพราะจะทำให้ไข่สกปรกและมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์แทรกซึมเข้าไปในไข่ ซึ่งจะทำให้ไข่เสีย และมีผลทำให้เชื้ออ่อนแอถึงตายได้
หลังจากนั้นให้หาไข่ปลอมที่มีรูปร่าง ลักษณะและน้ำหนักเหมือนไข่นกกระจอกเทศหรือไข่ที่ไม่มีเชื้อ มาวางไว้แทนเพื่อกระตุ้นให้แม่นกกระจอกเทศออกไข่เรื่อย ๆ ในทีเดียวกัน ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละ 40-80 ฟอง แต่ก็มีบางฟาร์มที่สามารถผลิตไข่ได้ถึงปีละ 100 ฟองต่อแม่นกกระจอกเทศ 1 ตัว
นกกระจอกเทศจะมีลักษณะกลมรีโดยมีความกว้างและยาวเกือบจะเท่ากัน เปลือกไข่สีขาวครีม และมีรูระบายอากาศใหญ่เห็นได้ชัดเจน ขนาดและน้ำหนักของไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิดของสายพันธุ์ซึ่งในระหว่างการฟักน้ำหนักไข่จะหายไปประมาณ 11-15%
วิธีการเลือกฟักไข่
ไข่ฟักเป็นผลจากการผสมพันธุ์ จึงย่อมมีผลทางการสืบสายเลือดตามลักษณะที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของระบบสืบพันธุ์ นั่นคือลูกย่อมได้ลักษณะต่าง ๆ ทั้งของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ซึ่งมีทั้งลักษณะดีและลักษณะเลว การเอาไข่เข้าฟักจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ด้วย
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกฟักไข่
-ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงนกกระจอกเทศที่ไม่เป็นโรค
-พ่อแม่พันธุ์จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง
-ต้องมีลักษณะที่ควรเป็นไข่ฟัก คือ เปลือกไข่สะอาด ผิวเปลือกไข่ ไม่ขรุขระ รูปไข่ไม่บูดเบี้ยวหรือแตกร้าว เป็นต้น
การเก็บรักษาไข่ฟัก
ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ในช่วงบ่ายถึงเย็น ซึ่งถ้าเป็นไปได้ผู้เลี้ยงควรจะรีบเก็บไข่ออกทันที และเมื่อรวบรวมไข่จนครบทุกคอกแล้ว ควรจะทำการรมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย ก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ แล้วนำไปเก็บรวบรวมไว้ที่ห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 20-23 ํC เพื่อรอนำเข้าตู้ฟักไข่ และจะเก็บไว้นานไม่เกิน 7 วัน ในระหว่างที่รอเข้าฟักนี้ควรที่จะมีการกลับไข่ด้วย อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และจะต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตกร้าว
ในการเก็บรักษาไข่ฟักนี้ ควรจะวางตั้ง เอาด้านป้านขึ้น ด้านแหลมลง แต่ก็มีบางฟองที่ไข่มีลักษณะกลมมนทั้งสองด้าน ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาให้ดีด้วย ส่วนอุณหภูมิและความชื้นที่ห้องเก็บไข่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าอุณหภูมิความชื้นไม่เหมาะสมจะทำให้น้ำในไข่ระเหยออกมามาก จะทำให้การพัฒนาของเชื้อตัวอ่อนไม่ดี มีผลให้เชื้อตายก่อนจะเข้าตู้ฟัก ที่อุณหภูมิ 23-33 ํC น้ำหนักไข่จะสูญเสียไปสัปดาห์ละ 1 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักไข่
การล้างไข่
ในการฟักไข่เป็ดหรือไข่ไก่มักจะไม่ทำการล้างไข่ก่อนเก็บเพื่อรอเข้าตู้ฟักแต่สำหรับไข่นกกระจอกเทศแล้ว จะทำทั้งการล้างไข่และไม่ล้าง ซึ่งก็มีเหตุผลและความเชื่อแตกต่างกันไป บ้างก็เกรงว่าน้ำจะเข้าไปในไข่ทำให้ไข่เน่า แต่สำหรับพวกที่ล้างไข่ก็เพื่อให้มั่นใจว่าไข่สะอาด ไม่มีเชื้อโรค จุลินทรีย์เกาะอยู่บนเปลือกไข่ แล้วซึมเข้าไปภายใน ซึ่งจะทำให้ไข่เน่าหรือเชี้อตาย
การล้างไข่จะทำทันทีที่เก็บไข่ออกมาจากคอกนก โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อผสมในน้ำอุ่น (39.5-40.5 ํC) นำไข่ลงไปล้าง แล้วใช้แปรงขนอ่อนขัดบนเปลือกไข่ จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งโดยไม่ต้องใช้ผ้าเช็ด สำหรับน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อจะใช้ล้าง ไข่ได้ไม่เกิน 6 ฟอง เมื่อเปลือกไข่แห้งแล้วให้นำเข้าไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บเพื่อรอการเข้าฟักต่อไป
การรมควัน (Fumigation)
การรมควันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฆ่าเชื้อที่เปลือกไข่ โดยใช้โปรเตสเซียมเปอมังกาเนต (KMnO4) 80 กรัม ใส่ถาดสังกะสีหรือถ้วยดิน แล้วนำฟอร์มาลีน (40%) ประมาณ 130 มิลลิลิตร สำหรับตู้ขนาด 3 ตร.ม. เทใส่ถ้วยดังกล่าวจะเกิดก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ขึ้น ควรจะรีบปิดตู้รมควันทันที ทิ้งไว้ 20-30 นาที จึงไปเปิดตู้ ทิ้งไว้สักครู่ จึงนำไข่เข้าไปเก็บในห้องเก็บไข่
เนื่องจากไข่ถูกเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 20-30 ํC มาเป็นเวลาหลายวัน ดังนั้น ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักไข่ จะต้องนำไข่ที่เก็บไว้ออกมาไว้นอกห้องเย็นอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง เพื่อให้ไข่ปรับตัวเข้าสู่อุณหภูมิของไข่ฟักเปลี่ยนแปลงจากเย็นเป็นร้อนอย่างกระทันหัน จะทำให้เชื้อตายได้
การฟักไข่
หลักใหญ่ของการฟักไข่ก็คือ ให้ความอบอุ่นแก่ไข่ฟักให้สม่ำเสมอตลอดเวลา และทำสิ่งแวดล้อมให้เป็นผลดีต่อการเจริญของเชื้อลูกนกเพื่อให้เปอร์เซนต์ฟักออกมาเป็นตัวลูกนกกระจอกเทศให้มากที่สุด
ปัจจัยทั่ว ๆ ไปที่ช่วยให้การฟักไข่เป็นผลดี คือ
1. อุณหภูมิหรือความร้อน ที่เหมาะสมที่ช่วยให้เชื้อลูกนก และออกจากไข่อย่างปกติ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะประมาณ 35.5-36.3 องศาเซลเซียส หรือ 97.2-97.5 องศาฟาเรนไฮน์ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาจากเอกสารประกอบการใช้ตู้ฟักไข่ชนิดนั้น ๆ ด้วย ซึ่งความร้อนมีความสัมพันธ์กับเชื้อลูกนก ดังนี้
1.1 เปอร์เซ็นต์การฟักออกมากหรือน้อย
1.2 การฟักออกช้าหรือเร็ว
1.3 ขนาดของเชื้อลูกนกระหว่างฟัก ถ้าความร้อนต่ำเชื้อลูกนกจะเจริญเติบโตช้า
1.4 ขนาดของลูกนกที่ฟักออก การเร่งความร้อน หรือใช้ความร้อนสูงไป ลูกนกจะออกเร็วกว่าปกติ แต่จะได้ลูกนกที่มีขนแห้งเกรียน และขนาดตัวเล็ก
1.5 เปอร์เซ็นต์เชื้อตาย และอัตราการตายของลูกนกสูงมากถ้าใช้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ
1.6 ถ้าใช้ความร้อนต่ำไป ลูกนกจะออกมาช้า เปอร์เซ็นต์ฟักออกต่ำลูกนกจะอ่อนแอ
2. ความชื้น (Humidity) ความชื้นที่เหมาะสม ประมาณ 20-25% ช่วยให้การเจริญเติบโตของเชื้อลูกนกเป็นไปโดยปกติ หากความชื้นน้อยไปลูกนกจะแห้งติดเปลือกและตาย ความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ลูกนกมีขนแห้ง ฟูสวย ไม่ติดเปลือก
การระบายอากาศจึงเป็นการช่วยให้ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ออกจากตู้ฟัก และหมุนเวียนให้อากาศออกซิเจนเข้าไปถึงเชื้อลูกนก ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เหมาะสมคือ 21%
-การกลับไข่ (Turning) การกลับไข่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกนกแห้งติดเปลือกไข่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการตายของลูกนกขณะที่ฟักไข่ในระยะแรกได้มาก ควรจะกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง แต่ถ้าเป็นตู้ฟักระบบอัตโนมัติจะตั้งให้กลับไข่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง หลังจากย้ายไข่ไปไว้ในตู้เกิดก็จะไม่กลับไข่อีกเลย
-การส่องไข่ (Candling) ก็เพื่อคัดเอาไข่ที่ไม่มีเชื้อ ไข่เชื้อตาย และไข่เสียออกจากตู้ฟักไข่เสียก่อนที่ไข่จะเน่าและส่งกลิ่นเหม็นในตู้ฟัก ซึ่งเป็นผลเสียต่อไข่ฟองอื่น ๆ ด้วย
สำหรับการส่องไข่นกกระจอกเทศ จะทำ 2-3 ครั้ง โดยในครั้งแรกจะส่องเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 7-10 วัน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอาจส่องดูอีกครั้ง เมื่อฟักไปแล้ว 20-21 วัน และครั้งสุดท้ายก่อนจะย้ายไปยังตู้เกิด (ประมาณวันที่ 38 ของการฟัก)
เนื่องจากไข่นกกระจอกเทศมีเปลือกไข่ที่หนาและแข็งมากประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดังนั้นอุปกรณ์หรือเครื่องส่องไข่เพื่อดูการพัฒนาของตัวอ่อนจะต้องใช้กำลังไฟสูงมากและถ้าจะให้เห็นชัดเจนควรส่องดูในห้องมืดและไม่ควรส่องไข่เล่นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากความร้อนจากเครื่องส่องไข่จะมีผลต่อตัวอ่อนในไข่ได้
การเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุต่างๆ
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุแรกเกิด - 4 สัปดาห์
นกกระจอกเทศจะใช้เวลาฟักไข่นาน 42 วัน จึงออกเป็นตัว ซึ่งการฟักไข่ในตู้ฟักจะช่วยเหลือลูกนกกระจอกเทศให้ออกไข่ง่ายขึ้น เมื่อลูกนกกระจอกเทศออกจากไข่จะต้องอยู่ในตู้ที่เรียกว่าตู้อบประมาณ 24-48 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวแห้งและแข็งแรง หลังจากนั้นจึงนำออกมาเลี้ยงในโรงเรือนอนุบาล ลูกนกกระจอกเทศต่อไป ซึ่งในโรงเรือนอนุบาลจะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
1. เครื่องกกลูกนกกระจอกเทศ
2. แผงล้อมลูกนกกระจอกเทศ
3. ที่ให้อาหาร
4. ที่ให้น้ำ
5. วัสดุรองพื้น ควรใช้แกลบ ฟางแห้ง ผ้า หรือกระสอบ
การปฏิบัติการในการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุแรกเกิด - 4 สัปดาห์ ผู้เลี้ยงจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม และทำความสะอาดพื้นคอกบริเวณที่เลี้ยงลูกนก โดยการฆ่าเชื้อ ปูพื้นคอกด้วยแกลบหรือฟางแห้งหรือผ้ากระสอบ
พื้นคอกถ้าเป็นพื้นซีเมนต์จะทำความสะอาดได้ง่าย แต่ต้องระวังนกลื่น ปูทับด้วยวัสดุรองพื้นพวกแกลบ ฟางแห้ง กระสอบ หรือผ้า ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะทำการกก นอกจากนี้ออุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นจะต้องสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว
สำหรับเครื่องกกลูกนกจะต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อยว่าใช้งานได้ดี อุณหภูมิกกคงที่โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 35 ํ C หรือ 95 ? F ในช่วง 2 วันแรก และลดอุณหภูมิลงทุกสัปดาห์จนเหลือ 21-23 ? C หรือ 69-73 ํ F เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ไฟกกจะต้องอยู่สูงจากหัวนกขนาดลูกนกยืดคอไม่ถึง ปกติลูกนกกระจอกเทศเมื่อออกจากไข่ในระยะเวลา 2-3 วันแรก หรือ 24-36 ชั่วโมงหลังออกจากตู้อบ ไม่มีความจำเป็นที่จะให้อาหารลูกนก ช่วงนี้จะเป็นอันตรายทำให้ลูกนกตาย เพราะอาหารที่ลูกนกกินเข้าไปจะไม่ย่อย
ดังนั้นจึงควรให้อาหารหลังจาก 2 วันแรกไปแล้ว โดยอาหารที่มีโปรตีน 20-22 % พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่ แคลเซียม 1.4% ฟอสฟอรัส 0.7% เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ควรจะมีหญ้าสดสับหรือหั่นฝอยเสริมให้ลูกนกกินโดยผสมปนกับอาหารข้นในอัตราส่วน อาหารข้น 5 ส่วน ต่อหญ้าสดสับ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก และผสมด้วยกรวดขนาดเล็กหรือหินเกล็ดลงในอาหารผสมประมาณ 1.5 % โดยน้ำหนักอาหาร ซึ่งลูกนกจะใช้ในการย่อยบดอาหารในกระเพาะต่อไป หรือจะตั้งกรวดหรือหินขนาดเล็ก ไว้ให้ลูกนกกินเองก็ได้
เนื่องจากลูกนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ชอบเล่น ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารและน้ำจะใส่ลูกปิงปอง หรือลูกบอลที่ไม่ใช้แล้วลงไปด้วยประมาณ 2-3 ลูก เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วยจิกกินอาหารและน้ำไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหารได้มากยิ่งขึ้น
การให้น้ำแก่ลูกนกกระจอกเทศ
ในช่วงแรกลูกนกยังไม่รู้จักภาชนะให้น้ำ การปล่อยปละละเลยไม่ฝึกลูกนกอาจจะมีผลทำให้ลูกนกไม่ได้กินน้ำและตายในที่สุด ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องฝึกลูกนกโดยจับลูกนกไปที่ภาชนะที่ให้น้ำ แล้วจับปากลูกนกจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ทำเช่นนี้ทุกตัว น้ำที่ให้ในระยะแรกนี้ควรเสริมวิตามินและละลายน้ำที่ใช้กับลูกไก่ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาดผสมให้ลูกนกกินด้วยก็จะดีในช่วงนี้จะต้องดูแลเอาใจใส่
เกี่ยวกับ อุณหภูมิในการ กกลูกนก ลูกนกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วควรขยายวงล้อมกกออกทุก ๆ 3-4 วัน การขยายกกออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศ และควรลดอุณหภูมิในการกกลงสัปดาห์ละ 3-5 องศาฟาเรนไฮด์ โดยปกติจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศนานประมาณ 3-4 สัปดาห์ กรณีอากาศหนาวมากควรเพิ่มระยะเวลากกยาวออกไปอีก ทั้งนี้ให้สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย
การเลี้ยงนกกระจอกเทศในระยะ 1 สัปดาห์แรก ควรจะให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด ควรจะให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อลูกนกอายุเกิน 1 สัปดาห์ไปแล้วจึงจะลดชั่วโมงการให้แสงสว่างลงเหลือ 14-15 ชั่วโมงต่อวัน เมื่ออายุ 3-4 สัปดาห์ อาจเปิดไฟเฉพาะในเวลากลางคืนก็พอ
ลูกกระจอกเทศแรกเกิดจะมีน้ำหนักประมาณ 830-1,000 กรัม ซึ่งลูกกระจอกเทศอายุ 0-4 สัปดาห์ จะโตขึ้นจากเดิม 1 ฟุต หนักประมาณ 900-2,800 กรัม อัตราการเจริญเติบโตของลูกนกกระจอกเทศจะสูงขึ้นประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการเจริญเติบโตจึงจะลดลงหรือหยุด
ในการเลี้ยงควรจะตรวจดูวัสดุรองพื้นคอก จะต้องไม่ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่น ถ้ามีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนียจะต้องรีบแก้ไขทันที โดยเปลี่ยนวัสดุรองพื้น ภายในห้องกกควรจะมิดชิดไม่มีลมโกรกเข้ามา แต่จะต้องมีการระบายอากาศออก ให้ภายในห้อง
ดังนั้นจึงควรเข้มงวดในเรื่องของการสุขาภิบาลในโรงเรือนอนุบาลให้เป็นอย่างดี ลูกนกจึงจะแข็งแรงเจริญเติบโตเร็ว
ควรสังเกตอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่มีสุขภาพปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อนนุ่ม ไม่แห้งแข็งหรือเป็นเม็ดเหมือนอุจจาระแพะ ปัสสาวะของนกกระจอกเทศจะต้องเป็นน้ำใส ไม่เหนียวหรือขุ่นข้น
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ อายุ 1-3 เดือน
ลูกนกกระจอกเทศเมื่ออายุครบ 1 เดือน และมีสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว ควรจะปิดเครื่องกกขยายพื้นที่ในคอกอนุบาลให้ลูกนกได้อยู่อย่างสบาย ลดชั่วโมงการให้แสงสว่างแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้นกตื่นตกใจ นกกระจอกเทศวัยนี้จะตกใจง่าย ในเวลากลางวันควรจะมีพื้นที่ปล่อยลูกนกออกเดินเล่นในลานที่มีแสงแดดรำไรในช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ ภาชนะให้น้ำและอาหารควรจะทำความสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตรวจสอบวัสดุรองพื้นคอกทุกวัน
การให้อาหารควรให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง คือ ให้อาหารวันละ 3-5 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยให้ลูกนกได้รับอาหารที่ใหม่สด ซึ่งจะต้องผสมหญ้าสดหรือผักสดผสมในอาหารข้นหรืออาจจะแยกให้อาหารข้นและเสริมให้กินผักสด หรือหญ้าสดหั่นละเอียดแยกให้กินต่างหาก
สำหรับน้ำควรจะมีให้นกกินตลอดเวลา ลูกนกวัยนี้จะตายได้ง่ายเพราะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตเร็ว อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว ขาของลูกนกกระจอกเทศจะแบะออก เดินขาปัด จนเดินไม่ได้ และจะตายในที่สุด จึงจำเป็นต้องควบคุมน้ำหนัก
วิธีแก้ไข ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศ จะต้องใช้ผ้ายืดหรือผ้าอีลาสติก สวมขาทั้ง 2 ข้างไว้ไม่ให้ขาลูกนกแบะถ่างออก พร้อมเสริมอาหารให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงขึ้น ขณะเดียวกันควรจะลดปริมาณอาหารลงด้วย ซึ่งการเลี้ยงระยะนี้ผู้เลี้ยงจะต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศทุกวัน
กรณีมีอาการผิดสังเกตให้รีบแก้ไข ซึ่งอาจจะต้องแยกลูกนกที่มีปัญหาออกมาเลี้ยงต่างหาก แต่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนกอยู่ตัวเดียว ควรจะหาลูกนกตัวอื่นเป็นเพื่อนด้วย ไม่เช่นนั้นลูกนกจะยิ่งเครียดมากขึ้น ตามปกติเมื่อลูกนกกระจอกเทศอายุได้ 3 เดือน ควรมีน้ำหนักประมาณ 12-21 กิโลกรัม
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ อายุ 3-24 เดือน
นกกระจอกเทศในช่วงอายุ 0-6 เดือน จะเจริญเติบโตเร็วมากหลังจากนั้น อัตราการเจริญเติบโตจะลดลงเล็กน้อย ต้องเอาใจใส่ในเรื่องอาหารและการจัดการได้ดี อาหารไม่ควรมีพลังงานสูงมากนัก อาหารที่เหมาะสมควรจะมีโปรตีน 16% พลังงาน 2,300-2,400 กิโลแคลอรี่ พร้อมเสริมให้กินหญ้าหรือผักสดหั่นเล็ก ๆ นกกระจอกเทศจะชอบกินเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนสับละเอียดมากเป็นพิเศษ ซึ่งการให้อาหารจะให้แบบแยกอาหารข้น หรือใช้วิธีการคลุกผสมให้นกกระจอกเทศกิน อัตราส่วนผสมควรจะใช้อาหารข้น 3 ส่วนต่อหญ้าสดหั่นละเอียด 1 ส่วนโดยน้ำหนัก
ทั้งนี้อาจจะปรับเปลี่ยนอัตราส่วนได้ ขึ้นกับสภาพความสมบูรณ์ของนกกระจอกเทศ ซึ่งถ้าลูกนกอายุเกินกว่า 6 เดือน อาจจะต้องปรับส่วนผสมโดยเพิ่มพืชอาหารสัตว์ประเภทเยื่อใยให้มากขึ้น และลดปริมาณอาหารข้นให้น้อยลง โดยคำนึงถึงความต้องการของร่างกายและสุขภาพของนกกระจอกเทศ
การเลี้ยงนกในวัยนี้จะต้องให้มีพื้นที่ออกกำลังกายอย่างอิสระและเพียงพอ ไม่ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่ ควรจะแบ่งออกเป็นฝูงเล็กมีจำนวนไม่เกิน 40 ตัว แต่การจัดฝูงให้เล็กประมาณ 15-20 ตัว/ฝูง จะเหมาะสมที่สุด เพราะจำทำให้ลูกนกแข็งแรงไม่แย่งอาหารกันกิน และไม่แน่นเกินไป
พื้นที่ที่เลี้ยงนกกระจอกเทศจะต้องระมัดระวังไม่ให้มีเศษวัสดุ เช่น เศษลวดผูกเหล็กก่อสร้าง ตะปู เศษถุงพลาสติก เศษแก้ว เศษผ้า ตกหล่น ในบริเวณคอกและพื้นที่เลี้ยง เพราะนกกระจอกเทศจะสนใจและจิกกินเข้าไป ซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศตายได้สิ่งที่จะต้องระมัดระวังในการเลี้ยงนกกระจอกเทศในอายุระหว่างนี้ คือ อัตราส่วนพื้นที่ทั้งภายในโรงเรือนหรือพื้นที่ร่ม และพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่ร่ม และพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง จะต้องจัดให้เพียงพอไม่คับแคบเกินไป การแออัดจะเป็นผลเสียทำให้เกิดการเสียหายได้ และพื้นที่ของภาชนะให้น้ำและอาหารจะต้องเพียงพอกับปริมาณนกกระจอกเทศที่เลี้ยง ไม่ให้มีการแย่งอาหารกันเกิดขึ้น
การเสริมหินเกล็ดหรือกรวด ในอาหารอัตรา 1.5 % โดยน้ำหนักหรือใส่ภาชนะให้นกกระจอกเทศเลือกกินเอง เมื่อนกกระจอกเทศอายุเกิน 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องให้แสงสว่างในเวลากลางคืน แต่จะต้องระวังให้ลูกนกอยู่ในโรงเรือนที่มีหลังคาและฝาผนังมิดชิดนอนเวลากลางคืน เพื่อป้องกันอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝน ลม พายุ และสัตว์ร้ายที่เป็นศัตรูนกกระจอกเทศ อีกอย่างหนึ่งคือ สุนัขซึ่งจะทำอันตรายนกกระจอกเทศในเวลากลางคืน
สำหรับเวลากลางวันควรปล่อยให้นกอยู่ในพื้นที่โล่งกลางแจ้งอย่างอิสระสามารถเข้าออกโรงเรือนได้ภาชนะให้น้ำและอาหารควรอยู่ในโรงเรือนอันเป็นการป้องกันฝนและแสงแดด ในกรณีที่มีพายุฝนควรจะต้อนนกกลับเข้าคอกภายในโรงเรือน ไม่ควรให้นกเล่นน้ำฝนเพราะจะทำให้เป็นหวัดหรือปอดบวมตายได้
การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปี ขึ้นไป)
นกกระจอกเทศเมื่ออายุได้ 2 ปี จะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวซึ่งจะเจริญพันธุ์ผู้เลี้ยงควรจะทำการจัดฝูงใหม่ให้เป็นฝูงผสมพันธุ์ โดยการคัดเลือกนกกระจอกเทศที่มีลักษณะดี อัตราการเจริญเติบโตดีแข็งแรง เก็บไว้ในการขยายพันธุ์เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
ดังนั้นการคัดเลือกนกกระจอกเทศเก็บไว้ทำพันธุ์ควรจะคัดเลือกเมื่ออายุ 1 ปี แต่การเลี้ยงดูยังคงรวมฝูงใหญ่เหมือนเดิม จนกว่าอายุได้ 2 ปี จึงคัดเลือกอีกครั้ง แบ่งฝูงเป็นฝูงผสมพันธุ์ประกอบด้วยพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2-3 ตัว ซึ่งนกกระจอกเทศอายุ 2 ปี จะมีน้ำหนักประมาณ 110-140 กิโลกรัม นกจะเริ่มให้ผลผลิตและผสมพันธุ์ได้โดยเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป และเพศผู้อายุ 2-5 ปีขึ้นไป และสามารถให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันได้นานถึง 40 ปี แต่จะนิยมเลี้ยงเพียง 20-25 ปี
การที่จะให้นกมีความสมบูรณ์พันธุ์ให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ จะต้องมีการเลี้ยงดูการจัดการที่ดี อาหารสำหรับพ่อ-แม่พันธุ์ในช่วงระยะฤดูผสมพันธุ์ควรจะเพิ่มแคลเซียมและฟอสฟอรัสอีก 1-2% เพราะแม่นกจะต้องการแคลเซียมในการสร้างเปลือกไข่ อาหารควรจะให้อย่างเพียงพอ ควรให้อาหารวันละ 2-3 ครั้ง โดยจะต้องเสริมหญ้าสดด้วย พร้อมทั้งมีหินเกล็ดไว้ให้นกได้จิกกินด้วยเพื่อช่วยในการย่อยอาหารที่กระเพาะบด
ภาชนะที่ให้อาหารและน้ำจะต้องทำความสะอาดทุกวัน และมีน้ำสะอาดตั้งให้กินตลอดเวลา พื้นที่ในการเลี้ยงจะต้องกว้างขวางพอที่จะให้นก ได้ออกกำลังกายได้ ปกตินกจะเริ่มผสมพันธุ์โดยมีฤดูการผสมพันธุ์ในช่วงอากาศอบอุ่นและแห้ง โดยสีหนังของนกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง โดยเฉพาะบริเวณคอและขา แม่นกเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะออกไข่โดยพ่อ-แม่นกจะขุดเป็นหลุมตื้น ๆ ขนาดเท่าตัวแม่นกไว้ให้วางไข่ และจะออกไข่เฉลี่ย 2-2.7 วัน/ ฟอง ตลอดฤดูผสมพันธุ์จะให้ไข่ประมาณ 30-80 ฟอง มากน้อยขึ้นกับสายพันธุ์ความสมบูรณ์ และอายุของแม่นกกระจอกเทศ โดยในปีแรกแม่นกจะให้ไข่ไม่มากนัก แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อ ๆ ไป
การเก็บไข่ควรเก็บไข่ออกทุกวัน หรือทันทีที่แม่นกวางไข่ และนำไปรวบรวมไว้ ในห้องที่มีอุณหภูมิได้ประมาณ 20-24 ํ C ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% ถ้าความชื้นสูงจะมีผลทำให้ไข่เน่าเสียได้ง่าย ในรังไข่ที่แม่นกออกไข่ควรจะต้องมีไข่ปลอมวางไว้อย่างน้อย 1 ฟอง เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศจำรังไข่และออกไข่ที่เดิม ติดต่อไปเรื่อย ๆ ช่วงออกไข่นี้นกกระจอกเทศจะมีความดุร้ายโดยเฉพาะพ่อพันธุ์เพราะหวงไข่มาก
นอกจากนี้ คอกผสมพันธุ์ที่ดีระหว่างคอกควรจะมีรั้วห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพราะป้องกันอันตรายจากการจิกตีกันระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่อยู่กันคนละคอก
การเลี้ยงดูนกกระจอกเทศในวัยระยะต่าง ๆ ที่ผู้เลี้ยงควรจะจัดทำเป็นอย่างยิ่ง คือ การจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ประกอบด้วย การให้ผลผลิต การกินอาหาร การให้ยาและวัคซีน การเริ่มต้นผสมพันธุ์ การให้ไข่ สุขภาพของนก และ ฯลฯ ที่สามารถจัดทำให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเลี้ยงดูหรือปรับปรุงการเลี้ยงดูให้ดีขึ้น กรณีมีปัญหาจะได้แก้ไขได้อย่างถูกต้อง การบันทึกจึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรจะทำแบบฟอร์มการจัดการต่าง ๆ ออกเป็นชุด ๆ เพื่อความเป็นระเบียบในการค้นคว้าศึกษาข้อมูล และปรับปรุงการจัดการฟาร์มให้ดีขึ้นต่อไป
อาหารที่ใช้เลี้ยงจะประกอบด้วย พลังงาน 2,400-2,600 kcal ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรตีน 14-16% และเยื่อใย 16% ซึ่งการให้อาหารนกกระจอกเทศในช่วงนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. ช่วงผสมพันธุ์ (Breeding Season)
2. นอกฤดูผสมพันธุ์ (Off Season)
นกกระจอกเทศในช่วงผสมพันธุ์จะมีความต้องการอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงเพื่อใช้ในการสร้างไข่ ซึ่งถ้าอาหารดีตรงตามความต้องการจะทำให้พ่อ-แม่พันธุ์สมบูรณ์และให้ผลผลิตไข่ที่มีเชื้อดีด้วย เพราะพ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีจะสามารถพิจารณาได้จาก
-ให้ผลผลิตไข่มาก
-เปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อสูง
-อัตราการฟักออกเป็นตัวมาก
-อัตราการเลี้ยงรอดมาก ลูกนกกระจอกเทศแข็งแรง
นอกจากนี้จะต้องพิจารณาอัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัสด้วย (Ca:P) โดยทั่ว ๆ ไปอัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสจะเท่ากับ 1:0.5-0.6 าในสูตรอาหารมีแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้ไปหยุดยั้งการทำงานของแมงกานีสและสังกะสีซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการมีเชื้อของไข่ ....สำหรับอาหารนกกระจอกเทศนอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นอาหารที่กินเพื่อดำรงชีพนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพดีมากนัก สามารถให้พืชหญ้าได้มากขึ้น จนเมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์อีกจึงจะขุนให้นกกระจอกเทศมีร่างกายสมบูรณ์ แต่ไม่อ้วนเกินไป เพราะถ้านกอ้านมาก จะทำให้มีไขมันไปเกาะอยู่ตามระบบสืบพันธุ์ เป็นเหตุให้ผลผลิตลดลง
การผสมพันธุ์
นกกระจอกเทศจะถึงวัยหนุ่มสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่อตัวผู้อายุ 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าพ่อ-แม่พันธุ์นกกระจอกเทศมีความสมบูรณ์แข็ง แรง มีการจัดการที่ดี จะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 40 ปี
เมื่อฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศเพศผู้จะมีปาก ขอบตา และแข้งจะมีสีแดงเข้ม ตัวเมียสีของขนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คงเป็นสีน้ำตาลเทาเช่นเดิม โดยธรรมชาติพ่อนกกระจอกเทศจะคุมฝูงตัวเมียหลายตัว แต่จะมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่เป็นคู่แท้ ส่วนที่เหลือจะเป็นตัวสำรองไป การเลี้ยงในระบบฟาร์มจะจัดตัวเมียให้เป็นคู่ผสมพันธุ์เพียง 1-3 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อพันธุ์
นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาการพร้อมที่จะผสมพันธุ์โดยการนั่งลงบนพื้นบนข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไป ตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการโดยจะกางปีกออำสั่น แต่ไม่นั่งเหมือนตัวผู้
นกกระจอกเทศแสดงอาการเป็นสัด
วิธีผสมพันธุ์
เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวอยู่บนพื้นแต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้งขึ้น แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมียและใช้เท้าขวาเหยียบ
หลังตัวเมีย ส่วนเท้าซ้ายจะอยู่ข้าง ๆ ตัวแม่นกเพื่อสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัวเมีย ซึ่งจะใช้เวลาผสมพันธุ์นานเพียง 1-3 นาที ฤดูผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศในเมืองไทยจะอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมิถุนายนของปีถัดไป การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยอย่างไรขึ้นกับ
1. อาหารมีคุณภาพดี และเหมาะสม
2. ความสมบูรณ์ของนก
3. อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม
ส่วนข้อควรพิจารณาความเหมาะสมของคู่ผสมพันธุ์ ให้พิจารณาจาก
1. ปริมาณไข่ต่อปี
2. อัตราของไข่มีเชื้อ
3. อัตราการฟักออกเป็นตัว
การฟักไข่ของนกกระจอกเทศ
ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศควรจะรู้และเข้าใจเรื่องการพัฒนาการเจริญเติบโต
ของเชื้อลูกนกกระจอกเทศตลอดระยะฟักจนออกมาเป็นตัวลูกนก การฟักไข่นกกระจอกเทศทำได้ 2 วิธี คือ
1. ฟักแบบธรรมชาติ หรือให้แม่นกกระจอกเทศฟักไข่เอง
2. ฟักไข่ด้วยเครื่องฟัก (Incubator)
การฟักไข่แบบธรรมชาติ
แม่นกกระจอกเทศจะเลือกออกไข่ในบริเวณที่โล่งแจ้งบนเนินสูงจากระดับพื้นปกติเล็กน้อยเพื่อมองเห็นศัตรูได้ทุกด้าน และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมไข่ในขณะที่ฟักไข่
แม่นกกระจอกเทศจะออกไข่เป็นชุด ชุดละประมาณ 12-18 ฟอง หลังจากนั้นแม่นกกระจอกเทศจะนั่งฟักไข่ในช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ 09.30 น. ถึง 16.30 น. หลังจากนั้นจะเปลี่ยนให้พ่อนกกระจอกเทศช่วยฟักในเวลากลางคืน
ในช่วงเวลาที่พ่อ-แม่นกกระจอกเทศเปลี่ยนเวรกันฟักไข่นี้เองจะมีการกลับไข่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับไข่ที่ถูกฟักอยู่เพราะจะได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง อุณหภูมิที่ไข่ฟักได้รับจากพ่อ-แม่นกกระจอกเทศระหว่างการฟักไข่จะอยู่ระหว่าง 34-36 ํC ความชื้นประมาณ 33.5 % และใช้เวลาฟักไข่นานถึง 42 วัน
การฟักไข่ด้วยเครื่องฟักไข่
โดยทั่วไปแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ทุกวันเว้นวัน หรือ 2-2.7 วัน ต่อฟอง ดังนั้นหากในแต่ละ ชุดผสมพันธุ์ ที่มีพ่อนกกระจอกเทศ 1 ตัว ต่อแม่นกกระจอกเทศ 1-3 ตัว แม่นกจะออกไข่พร้อมกันในวันเดียวกันหรือสลับวันกันออกไข่ก็ได้ ....เมื่อพบว่าแม่นกออกไข่มาแล้วให้รีบเก็บไข่ออกทันที เพื่อไม่ให้ไข่อยู่บนพื้นนานเกินไป เพราะจะทำให้ไข่สกปรกและมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์แทรกซึมเข้าไปในไข่ ซึ่งจะทำให้ไข่เสีย และมีผลทำให้เชื้ออ่อนแอถึงตายได้
หลังจากนั้นให้หาไข่ปลอมที่มีรูปร่าง ลักษณะและน้ำหนักเหมือนไข่นกกระจอกเทศหรือไข่ที่ไม่มีเชื้อ มาวางไว้แทนเพื่อกระตุ้นให้แม่นกกระจอกเทศออกไข่เรื่อย ๆ ในทีเดียวกัน ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละ 40-80 ฟอง แต่ก็มีบางฟาร์มที่สามารถผลิตไข่ได้ถึงปีละ 100 ฟองต่อแม่นกกระจอกเทศ 1 ตัว
นกกระจอกเทศจะมีลักษณะกลมรีโดยมีความกว้างและยาวเกือบจะเท่ากัน เปลือกไข่สีขาวครีม และมีรูระบายอากาศใหญ่เห็นได้ชัดเจน ขนาดและน้ำหนักของไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิดของสายพันธุ์ซึ่งในระหว่างการฟักน้ำหนักไข่จะหายไปประมาณ 11-15%
วิธีการเลือกฟักไข่
ไข่ฟักเป็นผลจากการผสมพันธุ์ จึงย่อมมีผลทางการสืบสายเลือดตามลักษณะที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของระบบสืบพันธุ์ นั่นคือลูกย่อมได้ลักษณะต่าง ๆ ทั้งของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ซึ่งมีทั้งลักษณะดีและลักษณะเลว การเอาไข่เข้าฟักจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ด้วย
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกฟักไข่
-ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงนกกระจอกเทศที่ไม่เป็นโรค
-พ่อแม่พันธุ์จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง
-ต้องมีลักษณะที่ควรเป็นไข่ฟัก คือ เปลือกไข่สะอาด ผิวเปลือกไข่ ไม่ขรุขระ รูปไข่ไม่บูดเบี้ยวหรือแตกร้าว เป็นต้น
การเก็บรักษาไข่ฟัก
ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ในช่วงบ่ายถึงเย็น ซึ่งถ้าเป็นไปได้ผู้เลี้ยงควรจะรีบเก็บไข่ออกทันที และเมื่อรวบรวมไข่จนครบทุกคอกแล้ว ควรจะทำการรมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย ก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ แล้วนำไปเก็บรวบรวมไว้ที่ห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 20-23 ํC เพื่อรอนำเข้าตู้ฟักไข่ และจะเก็บไว้นานไม่เกิน 7 วัน ในระหว่างที่รอเข้าฟักนี้ควรที่จะมีการกลับไข่ด้วย อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และจะต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตกร้าว
ในการเก็บรักษาไข่ฟักนี้ ควรจะวางตั้ง เอาด้านป้านขึ้น ด้านแหลมลง แต่ก็มีบางฟองที่ไข่มีลักษณะกลมมนทั้งสองด้าน ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณาให้ดีด้วย ส่วนอุณหภูมิและความชื้นที่ห้องเก็บไข่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าอุณหภูมิความชื้นไม่เหมาะสมจะทำให้น้ำในไข่ระเหยออกมามาก จะทำให้การพัฒนาของเชื้อตัวอ่อนไม่ดี มีผลให้เชื้อตายก่อนจะเข้าตู้ฟัก ที่อุณหภูมิ 23-33 ํC น้ำหนักไข่จะสูญเสียไปสัปดาห์ละ 1 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักไข่
การล้างไข่
ในการฟักไข่เป็ดหรือไข่ไก่มักจะไม่ทำการล้างไข่ก่อนเก็บเพื่อรอเข้าตู้ฟักแต่สำหรับไข่นกกระจอกเทศแล้ว จะทำทั้งการล้างไข่และไม่ล้าง ซึ่งก็มีเหตุผลและความเชื่อแตกต่างกันไป บ้างก็เกรงว่าน้ำจะเข้าไปในไข่ทำให้ไข่เน่า แต่สำหรับพวกที่ล้างไข่ก็เพื่อให้มั่นใจว่าไข่สะอาด ไม่มีเชื้อโรค จุลินทรีย์เกาะอยู่บนเปลือกไข่ แล้วซึมเข้าไปภายใน ซึ่งจะทำให้ไข่เน่าหรือเชี้อตาย
การล้างไข่จะทำทันทีที่เก็บไข่ออกมาจากคอกนก โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อผสมในน้ำอุ่น (39.5-40.5 ํC) นำไข่ลงไปล้าง แล้วใช้แปรงขนอ่อนขัดบนเปลือกไข่ จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งโดยไม่ต้องใช้ผ้าเช็ด สำหรับน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อจะใช้ล้าง ไข่ได้ไม่เกิน 6 ฟอง เมื่อเปลือกไข่แห้งแล้วให้นำเข้าไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บเพื่อรอการเข้าฟักต่อไป
การรมควัน (Fumigation)
การรมควันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฆ่าเชื้อที่เปลือกไข่ โดยใช้โปรเตสเซียมเปอมังกาเนต (KMnO4) 80 กรัม ใส่ถาดสังกะสีหรือถ้วยดิน แล้วนำฟอร์มาลีน (40%) ประมาณ 130 มิลลิลิตร สำหรับตู้ขนาด 3 ตร.ม. เทใส่ถ้วยดังกล่าวจะเกิดก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ขึ้น ควรจะรีบปิดตู้รมควันทันที ทิ้งไว้ 20-30 นาที จึงไปเปิดตู้ ทิ้งไว้สักครู่ จึงนำไข่เข้าไปเก็บในห้องเก็บไข่
เนื่องจากไข่ถูกเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 20-30 ํC มาเป็นเวลาหลายวัน ดังนั้น ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักไข่ จะต้องนำไข่ที่เก็บไว้ออกมาไว้นอกห้องเย็นอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง เพื่อให้ไข่ปรับตัวเข้าสู่อุณหภูมิของไข่ฟักเปลี่ยนแปลงจากเย็นเป็นร้อนอย่างกระทันหัน จะทำให้เชื้อตายได้
การฟักไข่
หลักใหญ่ของการฟักไข่ก็คือ ให้ความอบอุ่นแก่ไข่ฟักให้สม่ำเสมอตลอดเวลา และทำสิ่งแวดล้อมให้เป็นผลดีต่อการเจริญของเชื้อลูกนกเพื่อให้เปอร์เซนต์ฟักออกมาเป็นตัวลูกนกกระจอกเทศให้มากที่สุด
ปัจจัยทั่ว ๆ ไปที่ช่วยให้การฟักไข่เป็นผลดี คือ
1. อุณหภูมิหรือความร้อน ที่เหมาะสมที่ช่วยให้เชื้อลูกนก และออกจากไข่อย่างปกติ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะประมาณ 35.5-36.3 องศาเซลเซียส หรือ 97.2-97.5 องศาฟาเรนไฮน์ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาจากเอกสารประกอบการใช้ตู้ฟักไข่ชนิดนั้น ๆ ด้วย ซึ่งความร้อนมีความสัมพันธ์กับเชื้อลูกนก ดังนี้
1.1 เปอร์เซ็นต์การฟักออกมากหรือน้อย
1.2 การฟักออกช้าหรือเร็ว
1.3 ขนาดของเชื้อลูกนกระหว่างฟัก ถ้าความร้อนต่ำเชื้อลูกนกจะเจริญเติบโตช้า
1.4 ขนาดของลูกนกที่ฟักออก การเร่งความร้อน หรือใช้ความร้อนสูงไป ลูกนกจะออกเร็วกว่าปกติ แต่จะได้ลูกนกที่มีขนแห้งเกรียน และขนาดตัวเล็ก
1.5 เปอร์เซ็นต์เชื้อตาย และอัตราการตายของลูกนกสูงมากถ้าใช้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ
1.6 ถ้าใช้ความร้อนต่ำไป ลูกนกจะออกมาช้า เปอร์เซ็นต์ฟักออกต่ำลูกนกจะอ่อนแอ
2. ความชื้น (Humidity) ความชื้นที่เหมาะสม ประมาณ 20-25% ช่วยให้การเจริญเติบโตของเชื้อลูกนกเป็นไปโดยปกติ หากความชื้นน้อยไปลูกนกจะแห้งติดเปลือกและตาย ความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ลูกนกมีขนแห้ง ฟูสวย ไม่ติดเปลือก
การระบายอากาศจึงเป็นการช่วยให้ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ออกจากตู้ฟัก และหมุนเวียนให้อากาศออกซิเจนเข้าไปถึงเชื้อลูกนก ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เหมาะสมคือ 21%
-การกลับไข่ (Turning) การกลับไข่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกนกแห้งติดเปลือกไข่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการตายของลูกนกขณะที่ฟักไข่ในระยะแรกได้มาก ควรจะกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง แต่ถ้าเป็นตู้ฟักระบบอัตโนมัติจะตั้งให้กลับไข่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง หลังจากย้ายไข่ไปไว้ในตู้เกิดก็จะไม่กลับไข่อีกเลย
-การส่องไข่ (Candling) ก็เพื่อคัดเอาไข่ที่ไม่มีเชื้อ ไข่เชื้อตาย และไข่เสียออกจากตู้ฟักไข่เสียก่อนที่ไข่จะเน่าและส่งกลิ่นเหม็นในตู้ฟัก ซึ่งเป็นผลเสียต่อไข่ฟองอื่น ๆ ด้วย
สำหรับการส่องไข่นกกระจอกเทศ จะทำ 2-3 ครั้ง โดยในครั้งแรกจะส่องเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 7-10 วัน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอาจส่องดูอีกครั้ง เมื่อฟักไปแล้ว 20-21 วัน และครั้งสุดท้ายก่อนจะย้ายไปยังตู้เกิด (ประมาณวันที่ 38 ของการฟัก)
เนื่องจากไข่นกกระจอกเทศมีเปลือกไข่ที่หนาและแข็งมากประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดังนั้นอุปกรณ์หรือเครื่องส่องไข่เพื่อดูการพัฒนาของตัวอ่อนจะต้องใช้กำลังไฟสูงมากและถ้าจะให้เห็นชัดเจนควรส่องดูในห้องมืดและไม่ควรส่องไข่เล่นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากความร้อนจากเครื่องส่องไข่จะมีผลต่อตัวอ่อนในไข่ได้
การเลี้ยงนกกระจอกเทศอายุต่างๆ
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุแรกเกิด - 4 สัปดาห์
นกกระจอกเทศจะใช้เวลาฟักไข่นาน 42 วัน จึงออกเป็นตัว ซึ่งการฟักไข่ในตู้ฟักจะช่วยเหลือลูกนกกระจอกเทศให้ออกไข่ง่ายขึ้น เมื่อลูกนกกระจอกเทศออกจากไข่จะต้องอยู่ในตู้ที่เรียกว่าตู้อบประมาณ 24-48 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวแห้งและแข็งแรง หลังจากนั้นจึงนำออกมาเลี้ยงในโรงเรือนอนุบาล ลูกนกกระจอกเทศต่อไป ซึ่งในโรงเรือนอนุบาลจะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
1. เครื่องกกลูกนกกระจอกเทศ
2. แผงล้อมลูกนกกระจอกเทศ
3. ที่ให้อาหาร
4. ที่ให้น้ำ
5. วัสดุรองพื้น ควรใช้แกลบ ฟางแห้ง ผ้า หรือกระสอบ
การปฏิบัติการในการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุแรกเกิด - 4 สัปดาห์ ผู้เลี้ยงจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม และทำความสะอาดพื้นคอกบริเวณที่เลี้ยงลูกนก โดยการฆ่าเชื้อ ปูพื้นคอกด้วยแกลบหรือฟางแห้งหรือผ้ากระสอบ
พื้นคอกถ้าเป็นพื้นซีเมนต์จะทำความสะอาดได้ง่าย แต่ต้องระวังนกลื่น ปูทับด้วยวัสดุรองพื้นพวกแกลบ ฟางแห้ง กระสอบ หรือผ้า ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะทำการกก นอกจากนี้ออุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นจะต้องสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว
สำหรับเครื่องกกลูกนกจะต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อยว่าใช้งานได้ดี อุณหภูมิกกคงที่โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 35 ํ C หรือ 95 ? F ในช่วง 2 วันแรก และลดอุณหภูมิลงทุกสัปดาห์จนเหลือ 21-23 ? C หรือ 69-73 ํ F เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ไฟกกจะต้องอยู่สูงจากหัวนกขนาดลูกนกยืดคอไม่ถึง ปกติลูกนกกระจอกเทศเมื่อออกจากไข่ในระยะเวลา 2-3 วันแรก หรือ 24-36 ชั่วโมงหลังออกจากตู้อบ ไม่มีความจำเป็นที่จะให้อาหารลูกนก ช่วงนี้จะเป็นอันตรายทำให้ลูกนกตาย เพราะอาหารที่ลูกนกกินเข้าไปจะไม่ย่อย
ดังนั้นจึงควรให้อาหารหลังจาก 2 วันแรกไปแล้ว โดยอาหารที่มีโปรตีน 20-22 % พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่ แคลเซียม 1.4% ฟอสฟอรัส 0.7% เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ควรจะมีหญ้าสดสับหรือหั่นฝอยเสริมให้ลูกนกกินโดยผสมปนกับอาหารข้นในอัตราส่วน อาหารข้น 5 ส่วน ต่อหญ้าสดสับ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก และผสมด้วยกรวดขนาดเล็กหรือหินเกล็ดลงในอาหารผสมประมาณ 1.5 % โดยน้ำหนักอาหาร ซึ่งลูกนกจะใช้ในการย่อยบดอาหารในกระเพาะต่อไป หรือจะตั้งกรวดหรือหินขนาดเล็ก ไว้ให้ลูกนกกินเองก็ได้
เนื่องจากลูกนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ชอบเล่น ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารและน้ำจะใส่ลูกปิงปอง หรือลูกบอลที่ไม่ใช้แล้วลงไปด้วยประมาณ 2-3 ลูก เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วยจิกกินอาหารและน้ำไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหารได้มากยิ่งขึ้น
การให้น้ำแก่ลูกนกกระจอกเทศ
ในช่วงแรกลูกนกยังไม่รู้จักภาชนะให้น้ำ การปล่อยปละละเลยไม่ฝึกลูกนกอาจจะมีผลทำให้ลูกนกไม่ได้กินน้ำและตายในที่สุด ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องฝึกลูกนกโดยจับลูกนกไปที่ภาชนะที่ให้น้ำ แล้วจับปากลูกนกจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ทำเช่นนี้ทุกตัว น้ำที่ให้ในระยะแรกนี้ควรเสริมวิตามินและละลายน้ำที่ใช้กับลูกไก่ซึ่งมีจำหน่ายในท้องตลาดผสมให้ลูกนกกินด้วยก็จะดีในช่วงนี้จะต้องดูแลเอาใจใส่
เกี่ยวกับ อุณหภูมิในการ กกลูกนก ลูกนกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วควรขยายวงล้อมกกออกทุก ๆ 3-4 วัน การขยายกกออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศ และควรลดอุณหภูมิในการกกลงสัปดาห์ละ 3-5 องศาฟาเรนไฮด์ โดยปกติจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศนานประมาณ 3-4 สัปดาห์ กรณีอากาศหนาวมากควรเพิ่มระยะเวลากกยาวออกไปอีก ทั้งนี้ให้สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย
การเลี้ยงนกกระจอกเทศในระยะ 1 สัปดาห์แรก ควรจะให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด ควรจะให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อลูกนกอายุเกิน 1 สัปดาห์ไปแล้วจึงจะลดชั่วโมงการให้แสงสว่างลงเหลือ 14-15 ชั่วโมงต่อวัน เมื่ออายุ 3-4 สัปดาห์ อาจเปิดไฟเฉพาะในเวลากลางคืนก็พอ
ลูกกระจอกเทศแรกเกิดจะมีน้ำหนักประมาณ 830-1,000 กรัม ซึ่งลูกกระจอกเทศอายุ 0-4 สัปดาห์ จะโตขึ้นจากเดิม 1 ฟุต หนักประมาณ 900-2,800 กรัม อัตราการเจริญเติบโตของลูกนกกระจอกเทศจะสูงขึ้นประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการเจริญเติบโตจึงจะลดลงหรือหยุด
ในการเลี้ยงควรจะตรวจดูวัสดุรองพื้นคอก จะต้องไม่ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่น ถ้ามีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนียจะต้องรีบแก้ไขทันที โดยเปลี่ยนวัสดุรองพื้น ภายในห้องกกควรจะมิดชิดไม่มีลมโกรกเข้ามา แต่จะต้องมีการระบายอากาศออก ให้ภายในห้อง
ดังนั้นจึงควรเข้มงวดในเรื่องของการสุขาภิบาลในโรงเรือนอนุบาลให้เป็นอย่างดี ลูกนกจึงจะแข็งแรงเจริญเติบโตเร็ว
ควรสังเกตอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่มีสุขภาพปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อนนุ่ม ไม่แห้งแข็งหรือเป็นเม็ดเหมือนอุจจาระแพะ ปัสสาวะของนกกระจอกเทศจะต้องเป็นน้ำใส ไม่เหนียวหรือขุ่นข้น
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ อายุ 1-3 เดือน
ลูกนกกระจอกเทศเมื่ออายุครบ 1 เดือน และมีสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว ควรจะปิดเครื่องกกขยายพื้นที่ในคอกอนุบาลให้ลูกนกได้อยู่อย่างสบาย ลดชั่วโมงการให้แสงสว่างแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้นกตื่นตกใจ นกกระจอกเทศวัยนี้จะตกใจง่าย ในเวลากลางวันควรจะมีพื้นที่ปล่อยลูกนกออกเดินเล่นในลานที่มีแสงแดดรำไรในช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ ภาชนะให้น้ำและอาหารควรจะทำความสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตรวจสอบวัสดุรองพื้นคอกทุกวัน
การให้อาหารควรให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง คือ ให้อาหารวันละ 3-5 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยให้ลูกนกได้รับอาหารที่ใหม่สด ซึ่งจะต้องผสมหญ้าสดหรือผักสดผสมในอาหารข้นหรืออาจจะแยกให้อาหารข้นและเสริมให้กินผักสด หรือหญ้าสดหั่นละเอียดแยกให้กินต่างหาก
สำหรับน้ำควรจะมีให้นกกินตลอดเวลา ลูกนกวัยนี้จะตายได้ง่ายเพราะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตเร็ว อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว ขาของลูกนกกระจอกเทศจะแบะออก เดินขาปัด จนเดินไม่ได้ และจะตายในที่สุด จึงจำเป็นต้องควบคุมน้ำหนัก
วิธีแก้ไข ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศ จะต้องใช้ผ้ายืดหรือผ้าอีลาสติก สวมขาทั้ง 2 ข้างไว้ไม่ให้ขาลูกนกแบะถ่างออก พร้อมเสริมอาหารให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงขึ้น ขณะเดียวกันควรจะลดปริมาณอาหารลงด้วย ซึ่งการเลี้ยงระยะนี้ผู้เลี้ยงจะต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศทุกวัน
กรณีมีอาการผิดสังเกตให้รีบแก้ไข ซึ่งอาจจะต้องแยกลูกนกที่มีปัญหาออกมาเลี้ยงต่างหาก แต่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนกอยู่ตัวเดียว ควรจะหาลูกนกตัวอื่นเป็นเพื่อนด้วย ไม่เช่นนั้นลูกนกจะยิ่งเครียดมากขึ้น ตามปกติเมื่อลูกนกกระจอกเทศอายุได้ 3 เดือน ควรมีน้ำหนักประมาณ 12-21 กิโลกรัม
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ อายุ 3-24 เดือน
นกกระจอกเทศในช่วงอายุ 0-6 เดือน จะเจริญเติบโตเร็วมากหลังจากนั้น อัตราการเจริญเติบโตจะลดลงเล็กน้อย ต้องเอาใจใส่ในเรื่องอาหารและการจัดการได้ดี อาหารไม่ควรมีพลังงานสูงมากนัก อาหารที่เหมาะสมควรจะมีโปรตีน 16% พลังงาน 2,300-2,400 กิโลแคลอรี่ พร้อมเสริมให้กินหญ้าหรือผักสดหั่นเล็ก ๆ นกกระจอกเทศจะชอบกินเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนสับละเอียดมากเป็นพิเศษ ซึ่งการให้อาหารจะให้แบบแยกอาหารข้น หรือใช้วิธีการคลุกผสมให้นกกระจอกเทศกิน อัตราส่วนผสมควรจะใช้อาหารข้น 3 ส่วนต่อหญ้าสดหั่นละเอียด 1 ส่วนโดยน้ำหนัก
ทั้งนี้อาจจะปรับเปลี่ยนอัตราส่วนได้ ขึ้นกับสภาพความสมบูรณ์ของนกกระจอกเทศ ซึ่งถ้าลูกนกอายุเกินกว่า 6 เดือน อาจจะต้องปรับส่วนผสมโดยเพิ่มพืชอาหารสัตว์ประเภทเยื่อใยให้มากขึ้น และลดปริมาณอาหารข้นให้น้อยลง โดยคำนึงถึงความต้องการของร่างกายและสุขภาพของนกกระจอกเทศ
การเลี้ยงนกในวัยนี้จะต้องให้มีพื้นที่ออกกำลังกายอย่างอิสระและเพียงพอ ไม่ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่ ควรจะแบ่งออกเป็นฝูงเล็กมีจำนวนไม่เกิน 40 ตัว แต่การจัดฝูงให้เล็กประมาณ 15-20 ตัว/ฝูง จะเหมาะสมที่สุด เพราะจำทำให้ลูกนกแข็งแรงไม่แย่งอาหารกันกิน และไม่แน่นเกินไป
พื้นที่ที่เลี้ยงนกกระจอกเทศจะต้องระมัดระวังไม่ให้มีเศษวัสดุ เช่น เศษลวดผูกเหล็กก่อสร้าง ตะปู เศษถุงพลาสติก เศษแก้ว เศษผ้า ตกหล่น ในบริเวณคอกและพื้นที่เลี้ยง เพราะนกกระจอกเทศจะสนใจและจิกกินเข้าไป ซึ่งจะทำให้นกกระจอกเทศตายได้สิ่งที่จะต้องระมัดระวังในการเลี้ยงนกกระจอกเทศในอายุระหว่างนี้ คือ อัตราส่วนพื้นที่ทั้งภายในโรงเรือนหรือพื้นที่ร่ม และพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่ร่ม และพื้นที่อเนกประสงค์หรือพื้นที่โล่ง จะต้องจัดให้เพียงพอไม่คับแคบเกินไป การแออัดจะเป็นผลเสียทำให้เกิดการเสียหายได้ และพื้นที่ของภาชนะให้น้ำและอาหารจะต้องเพียงพอกับปริมาณนกกระจอกเทศที่เลี้ยง ไม่ให้มีการแย่งอาหารกันเกิดขึ้น
การเสริมหินเกล็ดหรือกรวด ในอาหารอัตรา 1.5 % โดยน้ำหนักหรือใส่ภาชนะให้นกกระจอกเทศเลือกกินเอง เมื่อนกกระจอกเทศอายุเกิน 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องให้แสงสว่างในเวลากลางคืน แต่จะต้องระวังให้ลูกนกอยู่ในโรงเรือนที่มีหลังคาและฝาผนังมิดชิดนอนเวลากลางคืน เพื่อป้องกันอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝน ลม พายุ และสัตว์ร้ายที่เป็นศัตรูนกกระจอกเทศ อีกอย่างหนึ่งคือ สุนัขซึ่งจะทำอันตรายนกกระจอกเทศในเวลากลางคืน
สำหรับเวลากลางวันควรปล่อยให้นกอยู่ในพื้นที่โล่งกลางแจ้งอย่างอิสระสามารถเข้าออกโรงเรือนได้ภาชนะให้น้ำและอาหารควรอยู่ในโรงเรือนอันเป็นการป้องกันฝนและแสงแดด ในกรณีที่มีพายุฝนควรจะต้อนนกกลับเข้าคอกภายในโรงเรือน ไม่ควรให้นกเล่นน้ำฝนเพราะจะทำให้เป็นหวัดหรือปอดบวมตายได้
การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปี ขึ้นไป)
นกกระจอกเทศเมื่ออายุได้ 2 ปี จะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวซึ่งจะเจริญพันธุ์ผู้เลี้ยงควรจะทำการจัดฝูงใหม่ให้เป็นฝูงผสมพันธุ์ โดยการคัดเลือกนกกระจอกเทศที่มีลักษณะดี อัตราการเจริญเติบโตดีแข็งแรง เก็บไว้ในการขยายพันธุ์เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
ดังนั้นการคัดเลือกนกกระจอกเทศเก็บไว้ทำพันธุ์ควรจะคัดเลือกเมื่ออายุ 1 ปี แต่การเลี้ยงดูยังคงรวมฝูงใหญ่เหมือนเดิม จนกว่าอายุได้ 2 ปี จึงคัดเลือกอีกครั้ง แบ่งฝูงเป็นฝูงผสมพันธุ์ประกอบด้วยพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2-3 ตัว ซึ่งนกกระจอกเทศอายุ 2 ปี จะมีน้ำหนักประมาณ 110-140 กิโลกรัม นกจะเริ่มให้ผลผลิตและผสมพันธุ์ได้โดยเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป และเพศผู้อายุ 2-5 ปีขึ้นไป และสามารถให้ผลผลิตไข่ติดต่อกันได้นานถึง 40 ปี แต่จะนิยมเลี้ยงเพียง 20-25 ปี
การที่จะให้นกมีความสมบูรณ์พันธุ์ให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ จะต้องมีการเลี้ยงดูการจัดการที่ดี อาหารสำหรับพ่อ-แม่พันธุ์ในช่วงระยะฤดูผสมพันธุ์ควรจะเพิ่มแคลเซียมและฟอสฟอรัสอีก 1-2% เพราะแม่นกจะต้องการแคลเซียมในการสร้างเปลือกไข่ อาหารควรจะให้อย่างเพียงพอ ควรให้อาหารวันละ 2-3 ครั้ง โดยจะต้องเสริมหญ้าสดด้วย พร้อมทั้งมีหินเกล็ดไว้ให้นกได้จิกกินด้วยเพื่อช่วยในการย่อยอาหารที่กระเพาะบด
ภาชนะที่ให้อาหารและน้ำจะต้องทำความสะอาดทุกวัน และมีน้ำสะอาดตั้งให้กินตลอดเวลา พื้นที่ในการเลี้ยงจะต้องกว้างขวางพอที่จะให้นก ได้ออกกำลังกายได้ ปกตินกจะเริ่มผสมพันธุ์โดยมีฤดูการผสมพันธุ์ในช่วงอากาศอบอุ่นและแห้ง โดยสีหนังของนกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง โดยเฉพาะบริเวณคอและขา แม่นกเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะออกไข่โดยพ่อ-แม่นกจะขุดเป็นหลุมตื้น ๆ ขนาดเท่าตัวแม่นกไว้ให้วางไข่ และจะออกไข่เฉลี่ย 2-2.7 วัน/ ฟอง ตลอดฤดูผสมพันธุ์จะให้ไข่ประมาณ 30-80 ฟอง มากน้อยขึ้นกับสายพันธุ์ความสมบูรณ์ และอายุของแม่นกกระจอกเทศ โดยในปีแรกแม่นกจะให้ไข่ไม่มากนัก แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อ ๆ ไป
การเก็บไข่ควรเก็บไข่ออกทุกวัน หรือทันทีที่แม่นกวางไข่ และนำไปรวบรวมไว้ ในห้องที่มีอุณหภูมิได้ประมาณ 20-24 ํ C ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% ถ้าความชื้นสูงจะมีผลทำให้ไข่เน่าเสียได้ง่าย ในรังไข่ที่แม่นกออกไข่ควรจะต้องมีไข่ปลอมวางไว้อย่างน้อย 1 ฟอง เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศจำรังไข่และออกไข่ที่เดิม ติดต่อไปเรื่อย ๆ ช่วงออกไข่นี้นกกระจอกเทศจะมีความดุร้ายโดยเฉพาะพ่อพันธุ์เพราะหวงไข่มาก
นอกจากนี้ คอกผสมพันธุ์ที่ดีระหว่างคอกควรจะมีรั้วห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพราะป้องกันอันตรายจากการจิกตีกันระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่อยู่กันคนละคอก
การเลี้ยงดูนกกระจอกเทศในวัยระยะต่าง ๆ ที่ผู้เลี้ยงควรจะจัดทำเป็นอย่างยิ่ง คือ การจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ประกอบด้วย การให้ผลผลิต การกินอาหาร การให้ยาและวัคซีน การเริ่มต้นผสมพันธุ์ การให้ไข่ สุขภาพของนก และ ฯลฯ ที่สามารถจัดทำให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเลี้ยงดูหรือปรับปรุงการเลี้ยงดูให้ดีขึ้น กรณีมีปัญหาจะได้แก้ไขได้อย่างถูกต้อง การบันทึกจึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรจะทำแบบฟอร์มการจัดการต่าง ๆ ออกเป็นชุด ๆ เพื่อความเป็นระเบียบในการค้นคว้าศึกษาข้อมูล และปรับปรุงการจัดการฟาร์มให้ดีขึ้นต่อไป